Jakkrit Siririn

NASCENT OBJECTS

เจ้าของนามปากกา “นกป่า อุษาคเนย์” ผู้ผันตัวเองจากการทำงานด้านสื่อสารมวลชนพร้อมประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทั้งนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการ ฯลฯ มาเป็นดอกเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา แต่ยังไม่ละทิ้งงานเขียนบทความ

 

Blogs

กาแฟการ์ตูน

19/09/2018

วัฒนธรรมการดื่มกาแฟของคนไทยเกิดขึ้นหลังวัฒนธรรมการดื่มชา เนื่องจากไทยรับวัฒนธรรมการดื่มชาจากจีนและอินเดียมาก่อนจะรับวัฒนธรรมการดื่มกาแฟจากชาติตะวันตก . แต่เมื่อรับเข้ามาแล้ว เราได้ปรับประยุกต์การดื่มกาแฟแบบตะวันตกให้กลายเป็นวัฒนธรรมแบบไทยๆ มีการผสมสูตรกาแฟเฉพาะไม่แพ้ต้นตำรับ อาทิ โอเลี้ยง หรือโอยั๊วะยกล้อ ใส่กระป๋องนมร้อยเชือกฟาง และร้านกาแฟไม่เพียงขายกาแฟแต่ยังขายชา ขายไข่ลวก ปาท่องโก๋ โอวัลติน แถมมีหนังสือพิมพ์ให้อ่านทุกเช้า . ที่สำคัญคือการให้กำเนิดคำว่า “สภากาแฟ” . “สภากาแฟ” เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นตั้งแต่ประเด็นร้อนทางการเมือง ไปจนถึงเรื่องการมุ้งของคนในชุมชน บางครั้งมีลักษณะเสมือนหอกระจายข่าว . นอกจากนี้ยังเป็นชุมทางการคมนาคม ก่อนจะไประเบิดภูเขาเผากระท่อม หนังบู๊ไทยต้องเริ่มที่ร้านกาแฟ เหมือนโรงเตี๊ยมในหนังจีน และ Saloon ในหนังคาวบอย และเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น รสนิยมและไลฟ์สไตล์คนไทยก็พัฒนาตามไป ความเร่งรีบในชีวิตประจำวันยามเช้าของคนเมือง ไม่มีเวลานั่งละเลียดกาแฟเหมือนในอดีต รถเข็นขายกาแฟโบราณริมฟุตบาทป้ายรถเมล์จึงเป็นที่นิยม ขณะเดียวกันยามเย็นหลังเลิกงานที่ดูเหมือนจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะแก่การกินกาแฟ กลับคลาคล่ำไปด้วยชนชั้นกลางตามร้านกาแฟแฟรนไชส์แบรนด์ระดับโลก นำไปสู่การสร้างแบรนด์ร้านกาแฟท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย ชูจุดเด่นด้วยต้นกำเนิดเมล็ดพันธุ์กาแฟแบบต่างๆ จนถึงขนาดมีเรื่องมีราวฟ้องร้องกันวุ่นวาย . ร้านกาแฟหรูหราแนวใหม่นี้ นอกจากกาแฟยังมีเบเกอรี่บริการ และบางร้านก็มีไอศกรีม รวมถึงเลยเถิดไปเป็นอาหารคาวแบบจัดเต็มก็มี และร้านกาแฟสมัยใหม่แบบนี้นี่เอง กลายเป็นจุดบ่มเพาะไอเดียธุรกิจรูปแบบใหม่ ด้วยการผสมผสาน Content จากหนังสือการ์ตูนเข้ากับร้านกาแฟในประเทศไทย ดูเหมือนว่าร้านกาแฟ Hello Kitty […]

ICE INNOVATION

17/08/2018

ไหนใครชอบกินน้ำแข็งยกมือขึ้น ทราบไหมครับว่า โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งน้ำแข็งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ น้ำแข็งซอง และน้ำแข็งหลอด . น้ำแข็งซอง คือ น้ำแข็งก้อนใหญ่ ที่เราจะนำน้ำแข็งซองมาแปรรูปได้หลากหลายชนิด เช่น บิงซู หรือน้ำแข็งปั่นหยาบผสมกับนมหรือน้ำผลไม้ ซึ่งก็คือน้ำแข็งไส โดยทั้งบิงซูและน้ำแข็งไสนั้น ชาวบ้านร้านตลาดรู้จักกันในนามน้ำแข็งฝอย หรือจะเป็นน้ำแข็งทุบ น้ำแข็งบด . น้ำแข็งทุบนั้นคงไม่ค่อยเห็นการนำมาใช้แปลงเป็นส่วนผสมในการทำอาหารการกินโดยตรง นอกจากใช้แช่วัตถุดิบในถังน้ำแข็งขนาดใหญ่ ส่วนน้ำแข็งบดดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะเป็นส่วนผสมสำคัญของเครื่องดื่มง่ายๆ เช่นน้ำอัดลม หรือกาแฟเย็น . ส่วนน้ำแข็งหลอดนั้นชื่อก็ตรงตัวคือ น้ำแข็งหลอดที่มีลักษณะเป็นแท่งกลวงขนาดใหญ่กว่าหลอดกาแฟแต่สั้นกว่า และน้ำแข็งซึ่งเป็นที่นิยมมากก็คือน้ำแข็งยูนิต ซึ่งเป็นน้ำแข็งก้อนทรงลูกบาศก์สี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่จะมาในรูปการบรรจุใส่ถุงพร้อมจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ . นอกจากบิงซูที่ขึ้นชั้นเป็นของหวานในวัฒนธรรมร่วมสมัยไปแล้ว ในใจทั่วไปของผู้คนมักแบ่งเกรดน้ำแข็งจากรูปลักษณ์การบริโภคว่าน้ำแข็งซองจะดูมีเกรดต่ำกว่าน้ำแข็งหลอด เพราะเห็นได้มากตามรถเข็นขายกาแฟเย็นข้างทางหรือในเซเว่น ส่วนน้ำแข็งหลอดจะดูหรูกว่านิดหนึ่งอาจเพราะตัวแพ็คเกจคือมาเป็นถุงใหญ่ปิดมิดชิดแลดูสะอาดสะอ้าน แล้วเมื่อนำไปแปรรูปหรือผสมกับอาหารหรือเครื่องดื่มก็ดูทันสมัยหรือมีคลาสกว่านิดหน่อย ที่สำคัญคือเป็นที่นิยมตามอาคารบ้านเรือนเพราะหิ้วจากร้านได้ง่ายๆ . แม้น้ำแข็งยูนิตเป็นที่นิยมในร้านอาหารหลายระดับตั้งแต่ร้านส้มตำหน้าปั๊มไปจนถึงผับไฮโซในซอยทองหล่อ แต่ถ้านึกถึงวิธีบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะวิสกี้ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดทั้งไทยและสากลแล้ว จะต้องจินตนาการถึงการใช้น้ำแข็งหลอดเป็นส่วนผสมเสมอ . ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. (2560) พบว่าน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอดที่มีการผลิตและวางจำหน่ายแต่ละวันในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการปนเปื้อนจากเชื้อโคลีฟอร์ม อีโคไล […]

ลูกบิด 4.0

18/07/2018

ในแวดวงธุรกิจสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในหมู่ StartUp ทั่วทุกมุมโลก KickStarter เป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งอย่างแน่นอน . KickStarter เป็นเว็บไซต์ระดมทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์สินค้าและบริการสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ เพื่อส่งเสริมการริเริ่มดำเนินธุรกิจหรือ StartUp และ SME ระดับสากล . เมื่อเร็วๆ นี้ มีสินค้าหนึ่งซึ่งน่าสนใจปรากฏใน www.kickstarter.com/projects/1928372437/gocube-the-classic-puzzle-reinvented นั่นก็คือ “ลูกบิด 4.0” . อันที่จริง คำว่า “ลูกบิด” เป็นคำเรียกเฉพาะในประเทศไทย ที่เสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “รูบิค” “รูบิค” ตั้งชื่อขึ้นตามชื่อของ “เออร์โน รูบิค” สถาปนิกชาวฮังการี ผู้ค้นคิดประดิษฐ์เจ้าของเล่นชิ้นนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1974 . การประดิษฐ์ “รูบิค” ของ “เออร์โน รูบิค” นั้นได้มีการแย่งชิงการจดสิทธิบัตรกันอย่างมากมาย และการฉกฉวยนำเอาต้นแบบ “รูบิค” ของเขา ไปผลิตเป็นสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งปรากฏความขัดแย้งขึ้นอย่างมากในตอนนั้น . เห็นได้จาก กว่าที่ “รูบิค” ซึ่ง “เออร์โน รูบิค” คิดค้นไว้ตั้งแต่ปี […]

CAR2GO บริการรถเช่า 3 ล้านคันต่อวัน!

20/06/2018

ขณะที่วินมอเตอร์ไซค์บ้านเรากำลังตบตีกับ GRAB และ UBER นวัตกรรมขนส่งมวลชนก็ขยับหนีห่างพี่ไทยออกไปเรื่อยๆ . ปัญหางูกินหางของระบบรถโดยสารสาธารณะของบ้านเรานั้นติดขัดไปหมด ทั้งข้อกฎหมาย ทั้งโครงข่ายถนนหนทาง การวางผังเมือง การบริหารองค์กรขนส่ง และทั้งอุปนิสัยใจคอ รวมถึงความคุ้นชินของประชาชน . ธุรกิจรถเช่าในประเทศไทยเป็นหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนที่ประกอบด้วยรถไฟ เรือเมล์ รถไฟฟ้า วินมอเตอร์ไซต์ แท็กซี่ สามล้อ และรถเมล์ . แม้ธุรกิจรถเช่าจะเป็นที่นิยมพอสมควร จากนักธุรกิจชาวต่างประเทศที่มาทำงานในเมืองไทย หรือนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในบ้านเรา . แต่กับพลเมืองของไทยเองแล้ว นอกจากภาคธุรกิจเจ้าใหญ่ๆ ดูเหมือนว่าประชาชนคนเดินดินกินข้าวแกงแทบจะไม่เฉียดใกล้กับธุรกิจรถเช่าเลยแต่อย่างใด แม้กระทั่งการเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างจังหวัดไกล คนไทยก็ไม่ค่อยจะใช้บริการรถเช่ากันเท่าไหร่นัก . แม้จะเปิดตัวมานานแล้ว แต่ CAR2GO ก็ยังไม่หยุดพัฒนาการให้บริการในธุรกิจรถเช่า หลักการง่ายๆ คือ เมื่อผู้เช่าลงทะเบียนเป็นสมาชิกในสนนราคา 30 ยูโร ก็สามารถเช่ารถเอาไปขับได้เลยด้วยอัตราค่าเช่า 15 ยูโร/ชั่วโมง ราคานี้รวมค่าที่จอด ค่าประกัน ค่าน้ำมัน ไว้แล้วเบ็ดเสร็จ . หลังใช้รถเสร็จก็เอาไปจอดที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ที่ห้ามจอด โดยไม่ต้องไปคืนรถที่ศูนย์เช่า และไม่ต้องจองคิวสำหรับสมาชิกผู้เช่าคนต่อไปเมื่อต้องการเช่ารถก็จะใช้ GPS ค้นหารถเช่า CAR2GO […]

The Unicorn Club (ตอนจบ)

16/05/2018

เมื่อ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ทำให้ Facebook ทะยานขึ้นเป็น เป็นหัวหน้ากลุ่ม หรือที่เรียกว่า Super-unicorn แล้ว คุณจะเห็นว่า รายชื่อองค์กรสมาชิกของ The Unicorn Club ส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยสักเท่าไหร่ เนื่องจากสังคมไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้ความสำคัญกับ “ผู้สร้าง” หรือ “การสร้าง” . เพราะบ้านเราเป็นชนชาติ “ผู้ใช้” โดยผมไม่อยากใช้คำแรงๆ อย่างการที่ไทยเป็นสังคมของ “ผู้รับใช้” เพราะเรามีชื่อเสียงที่โดดเด่นในเรื่องของ “ธุรกิจบริการ” แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเช่นนั้น… . เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศจำนวนมาก โดยนัยก็คือได้รับการยอมรับจากชาติตะวันตกก็คือธุรกิจใน “ภาคบริการ” โดยเฉพาะ Section ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยว . ขณะที่ อย่างที่กล่าวไป ว่าชาติตะวันตก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการเป็น “ผู้สร้าง” ดังนั้น ธุรกิจใดที่มีลักษณะ Pilot หรือ “ผู้บุกเบิก” ถากถางเส้นทางเดินให้กับผู้คน จะได้รับการยกย่องเสมอ . เห็นได้จากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นการเก็งกำไรส่วนต่างจากการลงทุน ทว่า […]

The Unicorn Club (ตอนแรก)

16/05/2018

Unicorn ในความเชื่อของชนชาติตะวันตก โดยเฉพาะชาวยุโรปนั้น Unicorn คือสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง และความงดงาม… . Unicorn คือม้าสีขาว มีเขาเกลียวงอกออกมาที่หน้าผาก Unicorn ตัวโตเต็มที่มีลักษณะสง่างาม ลูก Unicorn ตอนแรกเกิดจะมีขนสีทอง และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเงิน ก่อนที่จะโตเต็มวัยด้วยขนที่ขาว . มีความเชื่อกันว่า เกลียวเขาของ Unicorn รวมถึงโลหิตและขนของ Unicorn คุณสมบัติทางเวทมนตร์สูง Unicorn ก็เหมือนกับสัตว์ป่าทั่วไป รักสันโดษ และดุร้าย มีเพียงแม่มด เท่านั้นที่สามารถเข้าใกล้ Unicorn ได้ ส่วนมนุษย์ทั่วไปยากที่จะได้พบ Unicorn . ความที่ Unicorn เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วว่องไว จึงยากที่คนธรรมดาจะจับมันได้ เรื่องเล่าของชาวยุโรปเหนือ ระบุว่า การจับ Unicorn นั้น ต้องใช้สาวพรหมจรรย์เป็นผู้จับ Unicorn เพราะเมื่อมันได้กลิ่นหญิงสาว Unicorn จะลืมสัญชาตญาณป่าไปชั่วคราวนั่นเอง… . ดังนั้น Unicorn จึงเป็นสัตว์ลึกลับในตำนาน ต่อมา […]

การกลับมาของ Twitter (ตอนจบ)

17/04/2018

เราได้ทราบกันไปแล้วว่า ทำไม Twitter ถึงถูกแซงไปชนิดที่ไม่เห็นฝุ่น แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ Twitter กระเตี้องขึ้นได้ ติดตามได้ในตอบจบบทความนี้นะครับ . Twitter มีการพัฒนาระบบสูงมากขึ้น โดยสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าผ่านพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างอัตโนมัติ ไม่ว่าลูกค้าจะใช้โทรศัพท์มือถือแบบ iOS, Android หรือ Windows Phone อย่างที่ทราบกันไปแล้ว . นอกจาก Twitter จะป้องกันตัวเองในการเข้าไปให้บริการในต่างประเทศแล้ว ฟังก์ชั่น “withheld” ยังมีระบบคัดกรองสื่อลามก ความรุนแรง หรือเทคนิคทางการแพทย์ที่ละเมิดจรรยาบรรณอีกด้วย . จะเห็นได้ว่า ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดได้ชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากของ Twitter ในการจัดการกับแพลตฟอร์มจำนวนมหาศาล แต่ Twitter ก็ถือว่า สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จำเป็น และสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจของเขา . เหนือไปกว่านั้น นอกจากประเด็นของการคัดกรองสื่อลามก ความรุนแรง หรือเทคนิคทางการแพทย์ที่ละเมิดจรรยาบรรณแล้ว Twitter ยังมีนโยบายในการบริหารความเสี่ยง โดยได้จัดวางภารกิจทางศีลธรรมของพนักงาน Twitter กับผู้ใช้ของตนอย่างเข้มงวด ผ่านการเก็บรวบรวมคำหยาบต่างๆ อันแสดงถึงลักษณะนิสัยของผู้ใช้งาน ผ่านนโยบายการรักษาความลับและการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอีกด้วย . เพราะนโยบายหลักของ Twitter คือ […]

การกลับมาของ Twitter (ตอนแรก)

17/04/2018

หากย้อนกลับไปตอนเปิดตัวใหม่ๆ ต้องยอมรับว่า ในระดับ International นั้น Twitter คือ Social Media ที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือและยุโรป แต่จุดอ่อนของ Twitter อาจไม่ตรงกับความต้องการใช้งานของ User ในกลุ่มประเทศโลกที่สาม ซึ่งชอบ Function ชนิดเต็มรูปแบบเหมือน Facebook ทำให้ Twitter หรือแม้แต่ Instagram ถูก Facebook แซงหน้าแบบไม่เห็นฝุ่น . ทว่า ราวครึ่งปีมานี้ เริ่มเห็นอาการกระสับกระส่ายและเสียงบ่นกระปอดกระแปดของผู้ใช้งาน Facebook เกี่ยวกับการคัดกรอง Content หรือที่เรียกว่า Facebook Marketing Algorithm ที่ปิดกั้นการมองเห็น Status ของเพื่อนๆ แล้วแทนที่ด้วยโฆษณาอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ยอดผู้ใช้งาน Twitter เริ่มกระเตื้องขึ้นในไตรมาสแรกนี้ . หากย้อนกลับไปดูโครงสร้างภายในของ Twitter ใช้เทคโนโลยีผ่านรูปแบบ API ที่ย่อมาจาก Application Programming Interface หรือ […]

JEFF BEZOS ได้ดีเพราะ “หนังสือ” (ตอนจบ)

15/03/2018

ผลการสำรวจของ BLOOMBERG BILLIONAIRES INDEX ที่ออกมาเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2018 ปรากฏชื่อของ JEFF BEZOS ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก . รายงาน “วงการหนังสือโลก” ใต้เงายักษ์ AMAZON ของ BLOOMBERG BILLIONAIRES INDEX เขียนเอาไว้ทำนองว่า แม้ AMAZON จะตั้งความหวังไว้กับ KINDLE เครื่องอ่าน E-BOOK ที่ตนเองผลิตขึ้นมาค่อนข้างมาก แต่มันก็ยังเป็นเรื่องของอนาคต . เพราะในปัจจุบัน ดูเหมือนว่า AMAZON จะยังสนุกสนานกับขายหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากกว่า… . เมื่อทิศทางเป็นเช่นนี้ จึงนำไปสู่การลงหลักปักฐานในธุรกิจ E-COMMERCE ของ AMAZON นั่นเองครับ… . แน่นอนว่า โมเดลธุรกิจ E-COMMERCE นั้นมีส่วนทำลายรูปแบบการทำธุรกิจในแนวทางดั้งเดิมที่การค้าการขายสิ่งของใดๆ ก็ตามนั้น จำเป็นจะต้องมี “หน้าร้าน” . ด้วยอุปสรรคด้านการเดินทาง ปัญหาเรื่องที่จอดรถ และค่าน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ลักษณะนิสัย รูปแบบการซื้อหาสิ่งของที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันหรือไลฟ์สไตล์การช้อปปิ้งของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนจากการนั่งรถและเดินไปซื้อของ มาเป็นการซื้อสินค้าผ่าน […]

JEFF BEZOS ได้ดีเพราะ “หนังสือ” (ตอนแรก)

15/03/2018

ผลการสำรวจของ BLOOMBERG BILLIONAIRES INDEX ที่ออกมาเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2018 ปรากฏชื่อของ JEFF BEZOS ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก สำหรับคนทั่วไป เมื่อเอ่ยชื่อ JEFF BEZOS ขนาดพัดลมยังส่ายหน้า แต่ถ้าพูดคำว่า AMAZON คนไทยก็อาจจะยังคิดไปถึงร้านกาแฟ แต่ถ้าเป็นคนทั่วโลก โดยเฉพาะ “คอวรรณกรรม” ต้องนึกถึงเว็บไซต์ AMAZON.COM เพราะเชื่อว่า “คนรักหนังสือ” จำนวนมากทั่วโลก รวมทั้ง “หนอนหนังสือไทย” รุ่นใหม่ จะต้องรู้จัก เว็บไซต์ AMAZON.COM . แม้ไม่เคยซื้อหนังสือผ่านเว็บไซต์ AMAZON.COM แต่คงต้องเคยแว้บเข้าไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ หรืออย่างน้อยก็น่าจะเคยคลิกเข้าไปดู “ปกหนังสือ” ที่เว็บ AMAZON . AMAZON.COM เป็นเว็บไซต์ขายหนังสือผ่านระบบ ONLINE หรือ E-COMMERCE ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1994 ในยุคธุรกิจดอทคอมกำลังตั้งไข่… ครบ 24 ปี หรือ 2 รอบนักษัตรพอดีสำหรับ […]

Non-Cognitive Skills ทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 (ตอนที่ 2)

23/02/2018

จะเห็นได้ว่า การศึกษาวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และเศรษฐศาสตร์การศึกษา มีการนำตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับรายได้หลังจบการศึกษา โดยพบว่า Non-Cognitive Skills หรือทักษะทางพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพไม่น้อยไปกว่าทักษะทางด้านปัญญา หรือ Cognitive Skills (จักรกฤษณ์ สิริริน, 2558) . Non-Cognitive Skills มีอิทธิพลเหนือ Cognitive Skills . การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และเศรษฐศาสตร์การศึกษา ที่มีการนำตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills เข้ามาใช้ในการประมินความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการประมาณการผลประโยชน์ที่ทำได้หลังจบการศึกษา ซึ่งพบว่าตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills มีความสัมพันธ์ทางบวกมากกว่าตัวแปรทักษะทางสติปัญญา หรือ Cognitive Skills ดังที่จงรักษ์ หงษ์งาม ได้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง Effects of Cognitive Skill and Non-Cognitive Skills on Earning Outcomes: A […]

Non-Cognitive Skills: ทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 (ตอนแรก)

13/02/2018

ในปัจจุบัน รูปแบบการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีการพูดถึงการพัฒนาทักษะของผู้เรียนอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทักษะด้านการเรียนรู้ ด้านนวัตกรรม, สารสนเทศ, ชีวิต, อาชีพ ฯลฯ ทักษะต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดทักษะที่จำเป็นของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีบริบททางสังคมแตกต่างจากศตวรรษที่ 21 เพราะศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยที่บริบททางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รูปแบบการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วยการเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน เพื่อรองรับความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของบริบททางสังคมได้อย่างทันท่วงที . การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมในศตวรรษที่ 21 ทำให้มีอัตราการแข่งขันที่สูงมากในทุกองค์กรและทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือองค์กรทางการศึกษาซึ่งมีหน้าที่ผลิตบุคลากรป้อนให้กับองค์กรในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม เมื่ออัตราการแข่งขันที่สูงมากดังกล่าวที่ลุกลามเข้ามาสู่แวดวงการศึกษา จึงทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางด้านหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นไปยังการกำหนดจุดมุ่งหมายในรายวิชาต่างๆ ที่พุ่งเป้าไปในประเด็นของการแข่งขัน ผ่านรูปแบบการวัดและประเมินผลทางการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับทักษะทางปัญญา หรือ Cognitive Skills . Cognitive Skills หรือทักษะทางปัญญา เป็นทักษะหนึ่งในจำนวนหลายทักษะของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะด้านการเรียนรู้ เนื่องจากคำว่า Cognitive นั้นแปลว่าการรู้คิด หรือการรู้ หรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับ […]

Executive Function กระบวนทัศน์ใหม่ด้านทักษะการคิด (ตอนแรก)

15/10/2017

ในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าบรรดาทฤษฎีเกี่ยวกับการคิด ค่อนข้างจะไม่มีอะไรใหม่หรือเรียกได้ว่าแทบไม่มีความเคลื่อนไหว คืบหน้า หลังจากวงการวิชาการด้านการคิด ได้เดินมาถึงกระบวนการคิดขั้นสูง กระบวนการคิดขั้นสูง หรือ High-Level Cognitive Functions ส่งผลให้เกิดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการคิดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย โดยปัจจุบันมีการพูดถึงกระบวนการคิดขั้นสูงไม่เฉพาะในเชิงนามธรรม ทว่า มีการย้อนกลับไปสู่ประเด็นรูปธรรม คือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง และหนึ่งในกระบวนทัศน์ใหม่ด้านทักษะการคิด ในกลุ่มกระบวนการคิดขั้นสูง ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการทำงานของสมองก็คือ Executive Function Executive Function คือ ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการ เป็นกระบวนการทางความคิด หรือ Mental Process Executive Function มีส่วนช่วยในการวางแผน กำหนดเป้าหมาย จัดลำดับความสำคัญ และบริหารจัดการ โดยการทำไปเป็นขั้นตอนจนงานต่างๆ สำเร็จลุล่วง อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้สิ่งเร้ามาเบี่ยงเบนความสนใจไปนอกลู่นอกทาง กล่าวโดยสรุปก็คือ Executive Function เป็นทักษะที่ใช้ในการจัดการกับการเรียนรู้ ถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญ ทั้งต่อความสำเร็จในการเรียน การทำงานอาชีพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ พูดอีกแบบก็คือ Executive Function เป็นกระบวนการสร้างเสริมศักยภาพสมองของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาเป็นทักษะ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่คำว่าทักษะ […]

Japan 5.0 (ตอนจบ)

07/10/2017

Japan 5.0 หรือ Society 5.0 เกิดขึ้นจากการทีรัฐบาลญี่ปุ่นชุดปัจจุบัน มองว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 คือการแก้ปัญหาทางสังคม โดยมองข้ามประเด็นการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปแล้ว เพราะสำหรับญี่ปุ่นยุคใหม่ ความท้าทายใหญ่ๆ ก็คือจำนวนประชากรที่ลดลง บวกกับผู้สูงวัยที่เพิ่มจำนวนขึ้นถึง 10 ล้านคน เมื่อประชากรลดลง ญี่ปุ่นจึงมองไปที่เทคโนโลยี Robotics และ IoT มาทดแทนกำลังคนในวัยทำงาน ประกอบกับการก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยสมบูรณ์แบบ 100% อีกทั้งสัดส่วนของประชากรเพศหญิงในระบบเศรษฐกิจที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น การสร้างงานและสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้ ส.ว.และกลุ่มสุภาพสตรีรุ่นใหม่จึงมีความสำคัญในสายตารัฐบาลญี่ปุ่น อีกประเด็นหนึ่งซึ่งเป็น Indicator ที่สำคัญสำหรับ Japan 5.0 หรือ Society 5.0 ก็คือภัยธรรมชาติและการก่อการร้ายทาง Cyber แต่ที่สำคัญมากกว่าก็คือ กำแพง 5 ชั้น ที่เป็นอุปสรรคของญี่ปุ่นยุคใหม่ ซึ่งได้แก่ กำแพงชั้นที่ 1 คือปัญหาของระบบราชการ ที่ต่อไปนี้ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องเกิดการปฏิรูปการบริหารหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ด้วยการเชื่อมต่อกระบวนการทำงานด้วย IoT กำแพงชั้นที่ […]

Japan 5.0 (ตอนแรก)

07/10/2017

หากเราพิจารณาถึงบริบทของโลกยุคปัจจุบัน มีการใส่รหัส (Code) ให้กับยุคสมัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก โดยเริ่มนับกันที่โลกยุค 1.0 ซึ่งหมายถึงยุคเกษตรกรรม 2.0 คือโลกยุคอุตสาหกรรม ยุค 3.0 คือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนโลกยุค 4.0 คือโลกยุคหลังเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทิศทางที่โลกเคลื่อนไปนี้ ได้ผลักดันให้ทุกวงการต้องเคลื่อนตาม ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ Toffler (1980) ได้กล่าวถึง First wave หรือคลื่นลูกแรกของมนุษยชาติ คือสังคมเกษตรกรรมที่ดำรงอยู่มาเป็นเวลานับพันๆ ปี มีจุดเริ่มต้นนับจากวันแรกที่มนุษย์เริ่มหยุดออกเดินทางเพื่อล่าสัตว์ หันมาทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนใหญ่ในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม ก่อเกิดสังคม พัฒนาสู่การสร้างวัฒนธรรม และเริ่มมีเวลาในการสั่งสมองค์ ตรงกับโลกยุค 1.0 Second wave หรือคลื่นลูกที่สอง Toffler กล่าวว่า เป็นยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเน้นไปที่การผลิตและตลาดขนาดใหญ่ ใช้เครื่องจักรเพื่อสร้างสินค้าจำนวนมาก โดยได้ส่งอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมากมาย Third wave หรือคลื่นลูกที่ 3 เป็นยุคของการเชื่อมโยงและเข้าถึงระบบสารสนเทศจากทุกแห่งหน ภายใต้การเชื่อมโยงองค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องมีเทคโนโลยีเข้ามารองรับทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโครงสร้างโทรคมนาคม เกิดเป็นชุมชน […]

การจัดการนวัตกรรม: ภารกิจใหม่ของนักบริหาร (ตอนจบ)

18/09/2017

“การศึกษาในศตวรรษที่ 21” คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการการศึกษา มีการเผยแพร่ทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” มาแล้วมากมายอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดระหว่าง “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” กับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” ก็คือการเน้นเกี่ยวกับ “ทักษะ” และ “ทักษะ” ที่สำคัญที่สุดก็คือ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” และทักษะหนึ่งซึ่งมีความสำคัญก็คือ “ทักษะการเรียนรู้” หรือ Learning skill กล่าวสำหรับนักบริหารการศึกษา ในยุคของ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21”ที่ต้องอาศัย “ทักษะ” หลากหลายด้านในการบริหารจัดการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ “นักบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21” จะต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี” ใหม่ๆ สำหรับนำมาปรับประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต่อไป การจัดการนวัตกรรม             “นวัตกรรม” หมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล และการที่องค์กรยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้นั้น […]

การจัดการนวัตกรรม: ภารกิจใหม่ของนักบริหาร (ตอนแรก)

18/09/2017

ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่เรียกกันว่า “ศตวรรษที่ 21” มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในหลากหลายวงการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในเรื่องของการสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและคุณภาพสังคมที่ดีขึ้นของประชากรโลก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ก็ล้วนมีการผลิต “นวัตกรรม” ขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดย “นวัตกรรม” ที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาจากวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถูกนำไปต่อยอด ขยายผล และใช้งานในแทบจะทุกวงการ โดยเฉพาะแวดวงการศึกษา “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการการศึกษาเช่นกัน โดยมีการเผยแพร่ทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” มาแล้วมากมายอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดระหว่าง “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” กับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” ก็คือการเน้นเกี่ยวกับ “ทักษะ” และ “ทักษะ” ที่สำคัญที่สุดก็คือ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” และทักษะหนึ่งซึ่งมีความสำคัญก็คือ “ทักษะการเรียนรู้” หรือ Learning skill นอกจากนี้ ยังมี “ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม” ที่จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของผู้เรียนในการเข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในยุค “ศตวรรษที่ 21” […]

ความสำเร็จของ Hyperloop (ตอนที่ 1)

17/06/2017

Hyperloop คือระบบขนส่งผู้โดยสารและสินค้าภาคพื้นดิน ในลักษณะเดียวกับรถไฟหรือรถราง ทว่า Hyperloop ไม่ใช่การขนส่งระบบราง เพราะใช้อุโมงค์รูปลักษณ์ท่อขนาดใหญ่วางยาวต่อๆ กันคล้ายท่อขนส่งน้ำมัน โดยท่อของ Hyperloop เป็นระบบท่อสุญญากาศ Hyperloop เป็นระบบขนส่งที่มีความเร็วสูงกว่าและปลอดภัยกว่าเครื่องบิน การขับเคลื่อนอาศัย STATOR วางแนวไว้ด้านล่างของขบวนรถไฟ ซึ่งเป็นระบบมอเตอร์แม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนที่ติดตั้งกับตัวรถเรียกว่า ROTOR ทำความเร็วสูงสุดได้ 760 ไมล์ต่อชั่วโมง มันจึงวิ่งจากลอสแอนเจลิส ไปยังซานฟรานซิสโก ด้วยเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น

CKO: Chief Knowledge Officer

06/06/2017

ในอดีต ตำแหน่ง Manager หรือผู้จัดการ ดูเหมือนจะแบกรับหน้าที่ของบริษัทแทบทั้งหมด พูดอีกแบบก็คือเป็นตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดในองค์กรธุรกิจ และต่อมาก็ได้มีการเพิ่มตำแหน่ง Managing Director หรือกรรมการผู้จัดการ ที่เรียกกันย่อๆ ว่า MD ก่อนที่จะเริ่มมีการคิดค้นชื่อตำแหน่งแห่งที่ในการบริหารงานชนิดใหม่ออกมาอย่างมากมายในภายหลัง และที่เป็นชื่อตำแหน่งแห่งหนซึ่งพูดได้ว่าเป็นหลักในการกำหนดโครงสร้างการบริหารงานองค์กรยุคใหม่ก็ว่าได้ นั่นก็คือชื่อตำแหน่งในตระกูล Chief Officer หรือประธานเจ้าหน้าที่ โดยจะเว้นตรงกลางเอาไว้สำหรับใส่ภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล

VAR=ความยุติธรรม

04/03/2017

ใครที่เป็นคอบอลในระดับแฟนพันธุ์แท้ คงรู้สึกหงุดหงิดใจกับการตัดสินของกรรมการในบางแมทช์ ยิ่งถ้าเป็นคนที่รักความยุติธรรม อาจถึงกับทนไม่ได้กับดุลยพินิจของกรรมการบางคน ยังไม่ต้องพูดถึงแฟนบอลระดับสตั๊ดติดปลายนวม หรือบรรดานักพนันทั้งหลาย ที่มักระเบิดอารมณ์กับลีลาของกรรมการในบางเกม เพราะการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลที่ใช้ดุลยพินิจของมนุษย์นั้น แน่นอนว่า แม้จะมีกฎ กติกา ซึ่งได้ประกาศออกไปเป็นที่เข้าใจกันทั่วโลกรองรับ ทว่า ทุกกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ และแม้กระทั่งกฎหมาย ยังมีช่องว่างให้ปัจจัยต่างๆ สอดแทรกเข้าไป ยังไม่นับช่องโหว่ของข้อกฎหมาย ที่ต้องอาศัยการตีความตามมา ฯลฯ