Zombie-Based Learning

By : Jakkrit Siririn


School-Based Management การจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Problem-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Activity-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน

Task-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้เนื้องานเป็นฐาน

Work-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน

Project-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน

Team-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ทีมงานเป็นฐาน

Story-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้เรื่องราวเป็นฐาน

Games-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน

Model-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบเป็นฐาน

Computer-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน

Simulation-Based Learningการเรียนรู้โดยใช้การจำลองเป็นฐาน

Research-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

Creativity-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน

Community-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Evidence-based Learning การเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐาน

Brain-Based Learningการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

ทั้งหมดนี้ คือแนวคิดในการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่ และในวันนี้ มีอีกหนึ่งแนวคิดใหม่ในการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ นั่นคือ Zombie-Based Learning หรือการเรียนรู้โดยใช้ซอมบี้เป็นฐาน

Zombie-Based Learning คิดค้นขึ้นโดย David Hunter คุณครูประจำชั้นที่โรงเรียน Bellevue Big Picture ใน Seattle กรุง Washington David Hunter จบปริญญาโทสาขาหลักสูตรและการสอนจากวิทยาลัย Evergreen State และปริญญาตรีสาขาการสอนภาษาอังกฤษจากสถาบันเดียวกัน

ก่อนหน้าที่จะลงมือพัฒนาหลักสูตร Zombie-Based Learning ขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง David  เป็นคุณครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ที่โรงเรียน Bellevue ซึ่งเขาได้พยายามนำความแปลกใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์อยู่เสมอ

โดยเฉพาะการนำหลักการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือการผสมผสานพื้นที่การเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเข้าด้วยกัน        อันนำไปสู่การเขียนหนังสือ การสร้างสื่อการสอนใหม่ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ Zombie-Based Learning

หนังสือเล่มสำคัญตามแนวคิด Zombie-Based Learning ที่ David และทีมงานได้เขียนขึ้นก็คือ Dead Reckon เขียนโดยตัวเขาเอง โดยมี Francisco Maldonado และ Oscar Blanco เป็นผู้วาดภาพประกอบ

Dead Reckon เป็นสื่อสารสอนในรูปลักษณ์หนังสือการ์ตูนที่ David ประพันธ์ขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนในรายวิชาภูมิศาสตร์ของเขาได้เข้าใจถึงสภาพภูมิประเทศ ผ่านภาพกราฟฟิกสีสันสวยงามและมีเรื่องราวสนุกสนานตื่นเต้น น่าติดตามกว่าหนังสือเรียนแบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรแกนกลางสำหรับใช้เป็นตัวแบบหรือต้นทางในการบริหารจัดการด้านการศึกษารายวิชาภูมิศาสตร์ภายใต้แนวคิด Zombie-Based Learning ที่เขาตั้งชื่อเอาไว้ว่า Zombie-Based GeographyCurriculum หรือหลักสูตรภูมิศาสตร์ฉบับซอมบี้

โดย David ได้เปิดโอกาสให้คุณครูในรายวิชาภูมิศาสตร์ทั่วทุกมุมโลก สามารถนำหลักสูตรและการสอนในรูปแบบ Zombie-Based Learning ทั้งหนังสือการ์ตูน Dead Reckon และทั้งหลักสูตรเพื่อการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนในรายวิชาภูมิศาสตร์คือZombie-Based GeographyCurriculum หรือหลักสูตรภูมิศาสตร์ฉบับซอมบี้ ไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการและตามสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ

เนื้อหาในหนังสือการ์ตูน Dead Reckonเป็นการสื่อสารถึงเนื้อหารายวิชาภูมิศาสตร์ โดย David ได้ผูกโยงเรื่องราวของผังเมืองและแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา ให้เข้ากับเรื่องราวเกี่ยวกับ Zombie หรือผีดิบที่แพร่เชื้อและติดเชื้อจากการกัดกินกันเองต่อๆ กันมาจนเป็นโรคระบาดซอมบี้

โดยเขาได้สมมุติให้เรื่องราวอันน่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นตามท้องเรื่องหนังสือการ์ตูนชุด Dead Reckonเมื่อเด็กนักเรียนต้องหนีการไล่ล่าจะเหล่าซอมบี้

ซึ่งการจะหนีกันได้อย่างตลอดรอดฝั่งให้ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะการอ่านผังเมืองหรือแผนที่รัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ผ่านหลักสูตรและการสอนในรายวิชาภูมิศาสตร์ที่เขาเป็นคนสอน

David บอกว่า แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Zombie-Based Learning ที่เขาคิดขึ้นนั้น ได้ผูกโยงกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ 21st Century Skills นั่นก็คือการผสมผสานพื้นที่การเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเข้าด้วยกัน

ท่านที่สนใจZombie-Based Learning สามารถเข้าไปเยี่ยมชมรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.ZombieBased.comซึ่งภายในนั้นบรรจุทุกอย่างเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนทางด้านภูมิศาสตร์แนวใหม่ที่ David Hunter ได้คิดค้นขึ้น

 

Reviews

Comment as: