Re-startup ฉลากประหยัดพลังงาน

By : Jakkrit Siririn


นอกจากโครงการ ตาวิเศษ กับมอตโต้ ตาวิเศษเห็นนะ! ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ การทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ในปี พ.ศ.2527 ของสมาคมสร้างสรรค์ไทย ดูเหมือนว่าแคมเปญรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จไม่แพ้กันก็คือ ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ภายใต้โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในปี พ.ศ.2536 และโอนภารกิจมาอยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน ในปี พ.ศ.2549

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ในช่วงแรก ออกตัวแรง และทรงอิทธิพลในการรับรู้ของประชาชนอย่างมาก และพูดได้ว่าเป็นโครงการที่มีความยั่งยืนมากว่า 20 ปี ที่ทุกวันนี้คนไทยทุกเพศวัยต่างก็รับรู้และเชื่อมั่นใน Brand หรือ Logo เสมือนเป็นเครื่องหมายรับประกันความประหยัดไฟฟ้าของฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

หลังจากเปิดตัวฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่เริ่มต้นด้วยการรับรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ จำนวน 12 ชนิด ได้แก่

1.ตู้เย็น (พ.ศ.2537)

2.เครื่องปรับอากาศ (พ.ศ.2538)

3.หลอดตะเกียบ (พ.ศ.2539)

4.บัลลาสต์ (พ.ศ.2541)

5.ข้าวกล้อง (พ.ศ.2542)

6.พัดลมไฟฟ้า (พ.ศ.2544)

7.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (พ.ศ.2547)

8.โคมไฟประสิทธิภาพสูง (พ.ศ.2547)

9.บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ ที 5 (พ.ศ.2550)

10.พัดลมส่ายรอบตัว (พ.ศ.2551)

11.หลอดฟลูออเรสเซนต์ ที 5 (พ.ศ.2552)

12.เครื่องรับโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ (พ.ศ.2553)

และต่อมาภายหลัง ได้มีการเพิ่ม เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า และเตารีดไฟฟ้า เข้าไปในรายการ

จะเห็นได้ว่า แม้จะเป็นโครงการที่ดำเนินการมาร่วม 20 ปี ทว่า หากพิจารณาประเภทผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องจำนวน 11 รายการ มีเพียงข้าวกล้อง ที่ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าแทรกอยู่ 1 รายการ

โครงการข้าวกล้องเบอร์ 5 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2542 โดยก่อนหน้านี้ คนไทยนิยมบริโภคข้าวขาว ซึ่งต้องผ่านการขัดสีถึง 3 ครั้ง เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในการขัดสี และยังทำให้สารอาหารหลายชนิดหลุดออกไปด้วย ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า ทรงต้องการให้คนไทยบริโภคข้าวกล้องเพื่อสุขภาพที่ดี จึงมีการตั้งโครงการข้าวกล้องเบอร์ 5 ดังกล่าวขึ้น

อาจกล่าวได้ว่า โครงการข้าวกล้องเบอร์ 5 เป็นการ Re-startup ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หลังจากเปิดตัวโครงการมาได้ 5 ปี (ตู้เย็น เริ่มปี พ.ศ.2537)

โดยในปัจจุบัน ประชาชนได้รู้จักกับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นสูง (HEPs: High Energy Performance Standard) นั่นคือ ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง

ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง อยู่ภายใต้การดำเนินการของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งได้ริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึง https://www.viagrapascherfr.com/viagra-andorre-acheter/ พ.ศ.2558 และได้ดำเนินการติด ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ให้แก่ผู้ผลิตสินค้า 8 ประเภท ได้แก่

1.เตาแก๊สความดันต่ำ

2.เตาแก๊สความดันสูง

3.กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

4.ฉนวนใยแก้ว

5.อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์

6.มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส

7.เครื่องยนต์แก๊สโซลีนขนาดเล็ก

8.เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก

โดยในปัจจุบัน ได้มีการแตกแขนง ต่อยอด ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงอีกมากมายหลายชนิด อาทิ เครื่องอัดอากาศขนาดเล็กแบบลูกสูบ เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าอัตโนมัติชนิดใบพัดธรรมดา เครื่องทำน้ำร้อน หลังคากระเบื้อง อิฐมวลเบา และล่าสุดกับ สีทาผนังอาคาร

นอกจากนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้มีการดำเนินโครงการ ฉลากอนุรักษ์พลังงาน เพิ่มเติมขึ้นอีกเพื่อให้สอดรับกับสภาวะปัจจุบัน

โดย ฉลากอนุรักษ์พลังงาน มี 2 ลักษณะ คือ ฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงาน และฉลากบ้านอนุรักษ์พลังงาน และทั้งสองลักษณะจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดี (สีทองแดง) ระดับดีมาก (สีเงิน) และระดับดีเด่น (สีทอง)

ซึ่งในอนาคตข้างหน้า ผมคิดว่า ฉลากประหยัดพลังงาน และฉลากอนุรักษ์พลังงาน อาจขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มผู้ผลิตสินค้าประเภทยวดยานพาหนะ โดยเฉพาะยานยนต์ หรือรถยนต์ และอาจมอบให้กับธุรกิจบริการในอนาคตอันใกล้

ทั้งหมดนี้ ถือเป็น Re-startup ฉลากประหยัดพลังงาน ที่น่าใจครับ ที่น่าใจครับ

 

Reviews

Comment as: