SKILL SHARE (ตอนแรก)

By : Jakkrit Siririn


เขียนกันมาก อ่านกันมาก พูดกันมาก ฟังกันมาก ในประเด็น “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ซึ่งมีทั้งหนังสือ มีทั้งทฤษฎี และมีทั้งคาบเรียนมากมาย นับกันไม่หวาดไม่ไหว

ผมมี Trick นิดเดียว และใช้สอนนักศึกษา ในเรื่องความแตกต่างระหว่าง “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” กับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” หรือ “การศึกษาในศตวรรษอื่นๆ”

“การศึกษาในศตวรรษที่ 21” นั้น ต่างจาก “การศึกษาในศตวรรษอื่นๆ” ก็ตรงที่ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” นั้น “ใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน”

ผมจับ Trick ตรงนี้ เอามาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หัวข้อ “แนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า (2556-2566)”

ในเมื่อ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” นั้น “ใช้ ICT มาช่วย” ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัย คงหลีกเลี่ยง ICT ไม่พ้น

อีก Point หนึ่ง ซึ่งนอกเหนือไปจากเรื่องการใช้ ICT ที่แตกต่างแล้ว ผมคิดว่า “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” เน้น “การนำความรู้ไปใช้ได้จริง” หรือ “การฝึกทักษะ” นะครับ!

ดังนั้น ในวันนี้ เราจึงเริ่มเห็นแล้วว่า พ่อแม่ผู้ปกครอง เริ่มรู้เท่าทัน สถานศึกษาที่ยังอยู่ในศตวรรษที่ 20 คือ “สอนให้ท่องจำ” ด้วยการลงโทษ โดยย้ายลูกออกไปเรียนที่อื่น

ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาแบบเก่า หรือ “โรงเรียนรูปแบบศตวรรษที่ 20” ค่อยๆ ถูกทิ้งร้าง โรงเรียนขนาดใหญ่ กำลังจะกลายเป็นโรงเรียนขนาดกลาง

และโรงเรียนขนาดกลาง ก็กำลังจะกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนโรงเรียนขนาดเล็ก อาจจะถูกปรับปรุงให้เป็นสนามฟุตซอลในอนาคตก็เป็นได้ ใครจะไปรู้

ส่วนในระดับอุดมศึกษา ผมไม่ทราบว่าเขารู้ตัวกันหรือยัง ว่าเด็กค่อยๆ ลดน้อยลงทุกปี เพราะ“มหาวิทยาลัยรูปแบบศตวรรษที่ 20” กำลังถูกแทนที่ด้วย “มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง”

Model แบบ Campus หรือ “วิทยาเขต” อาจถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบ School หรือ College ซ้อนอยู่ใน University ซึ่งทางตะวันตกเขาทำกันมาหลายสิบปี บางแห่งเป็นร้อยปีแล้วครับ

ที่สำคัญก็คือ “มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง” ประเภท “มหาวิทยาลัยบรรษัท” หรือ “วิทยาลัย” หรือ “สถาบัน” กำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทในการจัดการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ

เช่น “วิทยาลัยเทคโนโลยีบุญถาวร” ในเครือ “บุญถาวร” เจ้าของธุรกิจวัสดุก่อสร้างเบอร์ต้นๆ ของบ้านเรา หรือ “โรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยอง” ในเครือ “ปตท.” ชื่อนี้ไม่ต้องอธิบาย

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์” ในเครือ 7 eleven ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากของทั้งเด็กและทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึง “สถาบันส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น”

ยังไม่นับ “มหาวิทยาลัยเนชั่น” ที่โดดเด่นในสาย “นิเทศศาสตร์” นอกจากนี้ก็มี “สถาบันกันตนา” ในสายบันเทิง และมี “วิทยาลัยดุสิตธานี” สายการโรงแรม ฯลฯ

และดูเหมือนว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” จะก้าวหน้ามากที่สุด ด้วยการเปิด “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” ที่เด่นในสายดนตรี และ “มหิดลวิทยานุสรณ์” เบอร์หนึ่งสายวิทยาศาสตร์

นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของการจัดการศึกษาที่กำลังเปลี่ยนแปลงถึงระดับโครงสร้าง ส่วนในระดับปัจเจก แน่นอนว่า Google, Wikipedia และ YouTube คือที่พึ่งหลักของวันนี้

ทุกวันนี้ ผู้ที่ต้องข้องเกี่ยวกับการค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสือในห้องสมุดลักษณะเดิมๆ หรือ “ห้องสมุดรูปแบบศตวรรษที่ 20” ต่างขี้เกียจเดินทาง เพราะน้ำมันแพง ค่ารถแพง

Google, Wikipedia และ YouTube จึงถือเป็น The Three Musketeers หรือ “สามทหารเสือ” แห่งการค้นคว้าหาข้อมูล ทั้ง Text mode, Graphics mode และ Video mode

เพราะหนึ่งในแนวคิดหลักของ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” คือ “ใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน” ดังนั้น ทั้ง Google, Wikipedia และ YouTube จึงตอบคำถามได้ตรงโจทย์

ซึ่งผมขอถือโอกาส แนะนำเว็บไซต์ SKILL SHARE ที่กำลังโด่งดังในระดับโลก ซึ่งหลายท่านอาจไม่ทราบว่า เจ้าของหรือผู้ร่วมก่อตั้ง เป็นคนไทย ใช้ชื่อว่า Michael Karnjanaprakorn หรือ ไมเคิล กาญจนประกร

 

Reviews

Comment as: