20XX

“Museum of TEEs Thailand (พิพิธภัณฑ์เสื้อยืดแห่งแรกในไทย)

19/09/2018

เราเคยตั้งคำถามมั้ยว่า “ศิลปะ” มันมีประโยชน์อะไรกับชีวิตของเรา???? หลายๆ คนยังคิดว่ามันเป็นเรื่องของคนมีอันจะกิน ของฟุ่มเฟือย และไกลตัว!!… ซึ่งแท้ที่จริง “ความคิดสร้างสรรค์” หรือแม้กระทั่งศิลปะมันอยู่รอบๆ ใกล้ตัวเรา… หน้าที่ของมันไม่ได้ทำเพียงแค่ “สร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้กับสินค้า หรือ “ธุรกิจ” อย่างที่คนส่วนใหญ่มักจะพยายามสร้างคุณค่าให้กับงานศิลปะในความหมายเพียงอย่างเดียว… เพราะว่ามันง่ายถ้าทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ามันสำคัญด้วยเหตุผลที่มันสามารถ “ทำเงิน” หรือสร้าง “มูลค่า” โดยมองข้าม “คุณค่า” ที่แท้จริงของมัน !! . งานศิลปะบางชนิดมันอยู่ใกล้ตัวเรามาก ใกล้แม้กระทั่งเราตื่นนอนขึ้นมาเราก็พบเจอ ผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆ เสื้อผ้าที่เราสามารถสวมใส่มันได้… เพลงที่ฟังมันได้อยู่ทุกวัน ยานพาหนะที่เราใช้โดยสารขับขี่ใช้ไปไหนต่อไหนในระหว่างวัน ตลอดจนทุกสิ่งอย่างที่อยู่รายล้อมรอบตัวเรา… บทความสุดท้ายใน Series 20XX (สองพันเอ็กซ์เอ็กซ์) ผมจะขอพูดถึงเรื่องที่ใกล้ตัวมากที่สุด แล้วคอยดูกันว่าจากสิ่งของเล็กๆ ที่สุดมันสามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไรบ้าง??? . “เสื้อยืด” ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ศิลปินระดับโลกใช้ถ่ายทอดผลงานศิลปะผ่านออกมาในรูปแบบเสื้อที่สวมใส่ได้ เปลี่ยนแคนวาสเป็นพื้นผ้าลายสกรีนบนเสื้อ… ย้ายการแสดงผลงานจากมิวเซียม แกลลอรี่ มาสู่ร่างกายผู้คนในสังคม!!… เสื้อบางตัวมีคุณค่าใช้แสดงทัศนคติความเชื่อของศิลปินและผู้สวมใส่ เช่น “I Hate Pink Floyd” เป็นข้อความบนเสื้อยืดที่ […]

ยักษ์เล็กไล่ยักษ์ใหญ่ Social Trade VS Modern Trade

19/09/2018

ใน 20 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าภาพของธุรกิจการค้าขายในบ้านเรา ส่วนใหญ่นั้นถูกจัดเข้ากับฟอร์แมททุนนิยมอย่าง “Modern Trade” ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ จนเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยของโมเดิร์นเทรดก็ว่าได้… คลื่นกระแสการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ส่งผลกระทบมากมายต่อวิถีชีวิตของผู้คน รูปแบบการค้าขายเดิมๆ ยกตัวอย่างเช่น ร้านขายของชำหรือแม้กระทั่งร้านอาหารสุดแสนอร่อยละแวกบ้าน ก็ต้องแปรสภาพธุรกิจ ปรับเปลี่ยนหนีตายกันไปอย่างจ้าละหวั่น… บางธุรกิจก็ล้มตาย สูญพันธุ์… ทำให้รูปแบบธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายเหมือนดอกไม้ที่ผุดขึ้นมาเบ่งบานจากร่องรอยแตกแยกของดินที่แห้งแล้ง… เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นมาจากการพัฒนาของสังคมเมืองและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของระบบทุนนิยมทั่วโลก . มีนิทานเรื่องหนึ่งจะเล่าให้ฟัง… กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ . …เมื่อครั้งมีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองนานมาแล้ว มีการปิดถนนหน้าสยาม… ตอนนั้นพ่อค้าแม่ขายที่เช่าพื้นที่ในช้อปหรือในห้างก็เสียหาย เพราะไม่มีคนไปเดินซื้อของเหมือนแต่ก่อน .. บางคนมีค่าใช้จ่าย fixed cost ไหนจะค่าเช่า ค่าผ่อนรถ ค่ากิน ค่าอยู่ พนักงานที่ต้องดูแล ของที่ลงทุนซื้อมาแล้ว… ธุรกิจ ห้างร้านก็เสียหาย… ที่ทราบมาเพราะว่า มีเพื่อนพี่น้องหลายคนเปิดร้านอยู่ที่นั่น ในเวลานั้น… พ่อค้าแม่ขายบางส่วน พลิกวิกฤตเป็นโอกาส แก้ปัญหาโดยการใช้ถนนที่ปิดนั้นเปิดร้านค้าเป็นถนนคนเดิน เอาของที่จะขายในช็อป ออกมาขายเป็นตลาดอยู่บนถนนคนเดิน สร้างความคึกคักได้ไม่น้อย… พอแก้ขัดไปได้… แต่ยอดขายสินค้าก็ค่อยๆ ลดลงนับจากนั้น… […]

กราฟฟิตี้ ศิลปะเปลี่ยนโลก

17/08/2018

ในครั้งนี้เราจะขอพูดถึงงานศิลปะ ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน The Fifth Element องค์ประกอบสำคัญมากที่เกี่ยวพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวัฒนธรรม Hiphop จนยากที่แยกร่างออกจากกันได้ นั่นก็คือ “กราฟฟิตี้” การวาดหรือการพ่นสีลงบนกำแพงหรือผนังเพื่อบอกเล่า ระบายสิ่งที่นึกคิด วิพากษ์วิจารณ์ ไปจนถึงการสร้างเครื่องหมายบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ของคนในชุมชนแออัดและเด็กสลัมกลุ่มเล็กๆ ที่มักจะทำขึ้นควบคู่ไปกับการจัดแสดงดนตรี Hiphop… จากในอดีตคนในสังคมเคยปรามาส มองการกระทำเหล่านี้เป็นการรบกวน สร้างความเดือดร้อน สร้างมลพิษทางสายตา (Visual illusion) ให้กับผู้คนในเมือง… ผู้ที่เป็นศิลปินต่างต้องแอบหลบๆ ซ่อนๆ ในการสร้างผลงานแต่ละครั้ง… จนถึงขั้นจำกัดงานศิลปะแขนงนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “อาชญากรรม” ไม่ต่างจากคนสัก Tattoo ที่คนในสังคมส่วนใหญ่ต่างมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของ “อาชญากร” หรือ “คนขี้คุก” รูปแบบของศิลปะร่วมสมัยอย่างกราฟฟิตี้นั้นมีอยู่หลากหลาย ทั้งเป็นรูปแบบของ Typographic เป็นลักษณะของ Font design ที่เขียนชื่อแสดงตัวตนของตนเองไปจนถึงบ่งบอกแนวความคิดหรือสิ่งที่อยากจะบอกเล่าสู่สังคม… บางแห่งเป็นรูปแบบของภาพไม่ว่าจะเป็นตัวการ์ตูนตัวคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นลายเซ็นที่ชัดเจนของศิลปินเอง ไปจนถึงภาพวิว ทิวทัศน์หรือภาพที่ล้อเลียน (Parody) กับเรื่องราวต่างๆ ในสังคมหรือบริบทที่ภาพนั้นตั้งอยู่… เมื่อโลกวิวัฒนาการตามยุคสมัย เมืองใหญ่ๆที่ขยายตัวขึ้นพร้อมๆกับเทคโนโลยี จากขยะทางสายตาสู่การเป็นสื่อสาธารณะชั้นยอดที่ผสานเรื่องราวไปกับพื้นผิวของเมือง (Urban Surface) ไม่ต่างจากป้ายบิลบอร์ดหรือป้ายโฆษณาที่แพร่กระจายจนเห็นกันเกลื่อนเมืองใหญ่ๆของโลก… ร่วมด้วยกับการเกิดขึ้นของโซเชียลเน็ตเวิร์ค […]

Hiphop กับวัฒนธรรม “ของก๊อบ” กับคำถามว่า “อะไรคือของจริง อะไรคือของปลอมกันแน่??”

17/08/2018

เราจะพาทุกคนย้อนกลับไปในปี 1980 เป็นยุคสมัยที่แบรนด์ Hi-end Fashion ระดับตำนานอย่าง Louis Vuitton Gucci Fendi หรือแม้กระทั่ง Chanel กำลังเบ่งบานไปทั่วโลก เสื้อผ้าที่ห้องเสื้อเหล่านี้ออกแบบและผลิตออกมานั้นล้วนแต่เป็นแฟชั่นของคนชนชั้นสูง โอต์ กูตูร์ ชุดเดรส ชุดราตรี สูทร่วมสมัย เป็นชุดที่ใช้สำหรับออกงานหรือเข้าสังคมที่ดูหรูหรา ฟู่ฟ่า เป็นยุคสมัยแห่งการสังสรรค์ปาร์ตี้ไปพร้อมๆ กับจุดพีคของวัฒนธรรมดนตรีอย่าง Funk และ Disco… โดยในยุคนั้นสินค้าที่แบรนด์ห้องเสื้อเหล่านี้จะไม่ผลิตออกมาเลย คือเสื้อผ้า Street (ในสมัยนั้นยังไม่มีการบัญญัติคำว่า Street Fashion ด้วยซ้ำ) ที่ใช้สำหรับดำเนินชีวิตของคนทั่วๆ ไปและถูกมองว่าเป็นเสื้อผ้าของตลาดล่างไม่เหมาะสมกับแบรนด์ . ในอีกฟากหนึ่งของมหานครนิวยอร์ค กลุ่มคนผิวสีได้ก่อกำเนิดวัฒนธรรมดนตรีที่เรียกว่า Hip hop และหนึ่งใน Element ที่สำคัญของชาว Hip hop คือ แฟชั่นที่นำเอาเสื้อผ้าเก่าๆ ที่ได้รับบริจาคมาใส่ มิกซ์แอนด์แมทซ์ โดยส่วนใหญ่เสื้อผ้าเหล่านั้นมักจะเป็นเสื้อผ้ากีฬา แจ็คเก็ต หรือชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันง่ายๆ ซึ่งในกาลต่อมาก็พัฒนามาเป็น “สตรีทแฟชั่น” อย่างในปัจจุบัน… […]

“The Rapper” จากกิจกรรมของคนสลัมสู่วัฒนธรรมเมนสตรีมของโลก

18/07/2018

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในตอนนี้กระแสของ Hip-Hop ในประเทศไทยกำลังเบ่งบาน หลังจากที่เงียบหายไปช่วงหนึ่งมานานกว่า 10 ปี… ก็ต้องยกเครดิตนี้ให้กับรายการ “The Rapper Thailand” รายการที่ทาง Workpoint Entertainment ได้ร่วมงานกับ บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด และ ทีม Rap is Now กลุ่ม Community ที่รักการแร็ป ซึ่งเป็นฐานกลุ่ม Underground เล็กๆ ที่ขยายวงขึ้นมาจากการจัดกิจกรรมแข่งขัน “Rap Battle” ตะเวน Roadshow ไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย… เป็นที่รวมตัวของกลุ่มคนไทยที่ชื่นชอบสุดสายทางวัฒนธรรม Hip-hop… ถ้าใครยังไม่เคยรับชม ลอง Search ช่อง YouTube แล้วลองพิจารณาดูจะพบว่า ความดุดัน ความสด ความเดือด ความเฉียบ ถือเป็นต้นทางของรายการที่แท้ทรู . ในประเทศไทยนั้น Hip-Hop ได้เข้ามาในช่วงยุค 90 ผ่านศิลปินหลายท่าน อาทิ […]

Learning From BNK48 #5

20/06/2018

และแล้วก็เดินทางมาถึงบทความที่ 5 ตอนสุดท้ายในซีรีส์ Learning From BNK48 ในช่วงขณะที่เขียนอยู่นี้ มีข่าวใหญ่ที่น่าสนใจในเรื่องของการเข้าซื้อ – ขายหุ้นของ บริษัท โรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทต้นสังกัด BNK48 ในประเทศไทย โดยบริษัท แพลน บี มีเดีย จํากัด (มหาชน) (Plan B) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการและรับจ้างผลิตสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย (Out of Home Media) ในอัตราส่วน 20.7 (ข้อมูลปีพ.ศ. 2560 จาก www.hooncenter.com) Plan B ใช้เงินทั้งสิ้น 182.25 ล้านบาท ในการเข้าซื้อหุ้น 35% ของ BNK48… . นั่นหมายความว่าที่ผ่านมา BNK48 มีมูลค่าธุรกิจรวมประมาณ 520.71 ล้านบาท (ข้อมูลจาก เพจลงทุนแมน) และกำลังจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มช่องทางกระจายคอนเทนท์อีกนับไม่ถ้วน… […]

Learning From BNK48 #4

16/05/2018

หากจะพูดถึงตัว “สินค้า” ที่แท้จริงของกลุ่มไอดอล BNK48 ก็คงจะหลีกหนีเรื่อง “กิจกรรมการบริการทางด้านความบันเทิง” ไม่ได้ ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ ที่น่าสนใจและมีผลอย่างมากต่อวิธีการทำการตลาดของทุกธุรกิจในประเทศไทยพอสมควร…หลายๆ กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นถึงขั้นร้องอุทานขึ้นมาว่า “เห้ย… ทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอวะ?”… เช่น การขาย Founder member box หรือ กล่องดำของสมาชิกกลุ่มบุกเบิกที่จำกัดจำนวน และจำกัดคนซื้อด้วย เพราะสนนราคาสูงถึง 20,000 บาท ซึ่งจะได้การ์ดสมาชิกที่มีสิทธิพิเศษ คือ สิทธิ์รับชมการแสดงรอบปฐมทัศน์เปิดโรงละครของเมมเบอร์ BNK48 ทีม BIII* (เฉพาะผู้สมัครก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์), ที่นั่งในโรงละคร (Theater) จำนวน 50 ที่นั่งตลอดระยะเวลา 3 ปี และ Souvenir ต่างๆ ได้แก่ Booklet (ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลของเมมเบอร์ BNK48, ข้อมูลโรงละคร และเพลงต่างๆ ที่จะใช้แสดงในโรงละคร), รูปพิเศษพร้อมลายเซ็นเลือกเมมเบอร์ได้, บัตรเชกิ (Cheki) หรือบัตรถ่ายรูปโพลารอยด์คู่กับเมมเบอร์ได้ 1 คน, […]

Learning From BNK48 #3

17/04/2018

เมื่อแรกเริ่มที่วง BNK48 ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยนั้น กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นของศิลปินกลุ่มนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่มาก ไม่ว่าจะเป็นคำนิยามที่เรียกตัวเองว่าไม่ใช่ “กลุ่มศิลปิน” แต่เป็น “Idol” ไปจนถึงคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกผู้ที่ติดตามคลั่งไคล้อย่างคำว่า “โอตะ” ในกลุ่มเองก็มีชื่อเรียกตำแหน่งต่างๆ ของคนในวง ไม่ว่าจะเป็น “เซ็นเตอร์” “เซ็มบัตสึ” “กัปตัน” “เคงคิวเซย์” “คามิ7 (คามิเซเว่น)” เป็นต้น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการบริหารจัดการตำแหน่งต่างๆ ในทีมฟุตบอลที่มีจำนวนสมาชิกมากๆ… ไปจนถึง “งานจับมือ” ที่เป็นคล้ายๆ งาน Fan Meeting แต่สามารถจับต้องไอดอลได้ในรูปแบบของ “งานจับมือ” คนละ 8 – 10 วินาที… ทั้งหมดนี้เป็นมากกว่าแค่วง Girl Group ที่ทำตัวใสๆ น่ารัก เอ็นเตอร์เทนผู้คนอย่างเดียว หากแต่เป็น “วัฒนธรรมไอดอล” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับรูปแบบของวงการบันเทิงในประเทศไทย และได้สร้างปรากฏการณ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสังคมไทยในตอนนี้ . ในประเทศญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นประเทศแม่ของวัฒนธรรมไอดอล แนวคิด “Idol you can meet” นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด […]

Learning From BNK48 #2

15/03/2018

ในขณะที่เราหยิบมือถือขึ้นมาในแต่ละวัน เลื่อนสไลด์ Feed เพื่อรับชมข้อมูลข่าวสารจากแอปพลิเคชัน โซเชียลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram Line หรือแอปอื่นๆ นั้นกลายเป็นเรื่องที่เป็นกิจวัตร เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา เช้า สาย บ่าย เย็น หรือแม้กระทั่งตอนหลับยังละเมอแชท!!! เป็นเรื่องปกติที่คุ้นชินของชีวิตปัจจุบันไปซะแล้ว… . โซเชียลมีเดียเข้ามาทดแทนสื่อกระแสหลักต่างๆ มากมายที่ทยอยล้มหายตายจาก ปิดตัว เปลี่ยน Platform เข้าสู่โลกออนไลน์กันไม่เว้นแต่ละวัน เป็นคลื่นสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมยากที่จะหลีกเลี่ยงได้… ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติต่อความเป็นอยู่ของผู้คนนั้นเริ่มมีกระบวนทัศน์ใหม่ๆ (Paradigm) ที่ขนาดคนรุ่นใหม่ๆ เองก็ยังตามไม่ค่อยจะทัน… ธุรกิจต่างๆเริ่มขยับตัวหาช่องทางรอดที่สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งนี้… ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ไม่ช้าก็เร็ว!!!!!!!! มีคนเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “Technology Disruption”… ซึ่งไม่ได้เป็นเฉพาะสังคมไทย หากแต่มันเป็นกันทั้งโลก… มันเป็นจุดเปลี่ยนแห่ง “ยุคสมัย” โดยแท้จริง… แต่ที่เขียนมาถึงตรงนี้ก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไป ไปซะแล้วรึเปล่า?.. รู้อยู่แล้วรึเปล่า?.. ทุกคนสามารถหาอ่านจากในอินเทอร์เน็ตที่ไหน? หรือบนเวที Speaker ที่มีอยู่เกลื่อนบ้านเกลื่อนเมืองเวทีไหนก็ได้ในตอนนี้…เราจะไม่พูดถึงเรื่องนี้กันอีก!!!!! . เราสนใจพฤติกรรมเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยที่ใกล้ตัวมากกว่านั้น… ทุกคนเคยลองสังเกตและตั้งคำถามมั้ยหล่ะว่า “เค้าดูอะไรกันใน […]

Learning From BNK48

19/02/2018

“แอบมองเธออยู่นะจ๊ะ แต่เธอไม่รู้บ้างเลย” น่าจะเป็นประโยคยอดฮิตติดปากทั่วบ้านทั่วเมืองในรอบสองเดือนที่ผ่านมานี้ จากท่อนหนึ่งของเพลงคุ๊กกี้เสี่ยงทายของวงไอดอลกรุ๊ปหน้าใหม่ BNK48 ที่มีสมาชิกมากถึง 28 คน เป็นประวัติการณ์สำหรับวงการเพลงและวงการบันเทิงเมืองไทย เป็นกลุ่มไอดอลแฟรนไชส์ที่มาจากวงพี่อย่าง AKB48 ของประเทศญี่ปุ่น … มองเผินๆ อาจจะคิดว่าเป็นเพียงแค่ปรากฎการณ์เพลงฮิต เกิดกระแสชั่วข้ามคืนเหมือนอย่างเพลงหรือวงดนตรีอื่นๆ ที่ผ่านมา หรือมันอาจจะเป็นเพียงแค่กระแสเท่านั้นจริงๆ ก็ได้ พอเดี๋ยวผู้คนเริ่มเบื่อก็จะดับความนิยมลงอย่างรวดเร็ว !!!!!! … . ก่อนจะพูดถึงรายละเอียดที่มากไปกว่านี้ ผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ใช่แฟนคลับ ไม่ได้โอชิหรือโอตะใครเป็นพิเศษ แต่มันมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งคำถามที่ย้อนแย้งกันมากมายที่เกิดขึ้นในสังคมไทยกับการนำเข้า “วัฒนธรรมบันเทิง” รูปแบบนี้จากประเทศแม่ของวงอย่างญี่ปุ่น ประเทศที่มีเอกลักษณ์ความเฉพาะตัวมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เข้ามาปรุงแต่งเสริมรสชาติใหม่ ปรับโฉมให้เข้ากับ “จริต” ในการเสพสื่อบันเทิงของบ้านเรา ที่มีความแตกต่างจากประเทศต้นฉบับโดยสิ้นเชิง … พออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะปิดทิ้งหรือเลื่อนข้ามไป เพราะคิดว่ามันจะเป็นเรื่องของคนบ้าศิลปินกำลังเขียนชื่นชมศิลปินที่เค้าชื่นชอบเท่านั้น ช้าก่อน !!!!!! ลองอดทนอ่านต่อไปก่อนอีกสักนิดแล้วจะรู้ว่ามันไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน !!! . อะไรคือ BNK48? ทำไมต้องมีสมาชิกเยอะขนาดนี้? วงแบบนี้ใครจะสนใจ? เฉพาะกลุ่มพวกผู้ชายโอตาคุรึเปล่า? มันจะเหมาะสมกับคนไทยเหรอ? วงจะไปตลอดรอดฝั่งมั้ย? ขนาดค่ายใหญ่ๆ ศิลปินเบอร์ใหญ่ๆ ยังอยู่กันไม่ได้เลยนะชั่วโมงนี้!! […]