BLINK

จินตนาการแห่งนิเวศวิทยา

19/09/2018

ทะเลเบื้องนอกสงบนิ่งแต่ก็จมอยู่ในความมืดมิด ในวัยเด็กผมชอบออกไปเดินตามชายหาดในยามค่ำ เท้าเตะทรายไปเรื่อย เฝ้าดูปูลมวิ่งแตกตื่นที่มีมนุษย์ผู้ยังไม่หลับไม่นอนมารบกวนดินแดนของมัน ท้องทะเลยามค่ำคืนมีมนต์ขลังอย่างยิ่ง มันปราศจากสีฟ้าในแบบที่เราเจนตาแต่กลับโอบอุ้มสีดำขลับไว้อย่างเต็มใจ ผมชอบยืนมองทะเลสีดำขลับที่ว่านั้นทีละนานๆ จินตนการว่าในความมืดดำนั้นมีอะไรที่ชวนให้ตื่นเต้นบ้าง ฉลามดุร้ายที่เฝ้ารอเหยื่อของมันตามแนวชายฝั่งหรือสัตว์โบราณในอดีตนับพันๆ ปีที่จะแอบโผล่ตัวขึ้นมาหายใจยามที่มันคิดว่ามันปลอดภัย ความคิดคำนึงแบบที่ว่านี้ให้ความสุขกับผมอย่างยิ่ง เป็นความสุขที่ผมเรียกมันว่า “จินตนาการแห่งนิเวศวิทยา” . แต่วันนี้ผมไม่ไปที่นั่น ไม่ไปที่ชายหาด ไม่เฝ้ามองไปที่ท้องทะเลมืดมิด ผมโตขึ้นมากแล้ว แก่ชราลงเกินกว่าจะสร้างจินตนาการแปลกใหม่อะไรออกมา ผมรู้ดีแล้วว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในความมืดมิดใต้ท้องทะเลยามนี้ สิ่งที่ดำรงอยู่ในความมืดมิดนั้นมีเพียงสิ่งเดียว สิ่งนั้นคือ “ขยะพลาสติก” . ภาพถ่ายในปีนี้จากนิตยสาร National Geographic อันเป็นนิตยสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เผยให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์จำนวนมากระหว่างสัตว์กับสิ่งที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า “พลาสติก” ภาพของลิงในเนปาลที่กำลังพินิจพิเคราะห์บรรจุภัณฑ์พลาสติก ภาพของม้าน้ำที่เกาะก้านสำลีพลาสติกเพื่อเคลื่อนที่แทนสาหร่ายในอินโดนีเซีย ภาพของคนเก็บขยะในอินเดีย และภาพอื่นๆ อีกมากมาย ทุกภาพในนิตยสารแสดงถึงปัญหาอันวิกฤตของพลาสติกที่กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกและของระบบนิเวศวิทยาในโลกไปอย่างสิ้นเชิง . ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของพลาสติกสมัยใหม่นั้นกำหนดไว้ในปี 1907 ชายชาวอเมริกันเชื้อสายเบลเยี่ยมนาม ลีโอ เฮนดริค เบเคแลนด์ (Leo Hendrik Baekeland) ได้ผลิตวัสดุที่มีชื่อว่าเบเคไลท์ (Bakelite) ซึ่งทำมาจากฟีนอล (phenol) และ ฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) เบเคไลท์นั้นถูกใช้ทำกระดุมหรือตัวโครงของโทรศัพท์บ้านในยุคนั้น และหลังจากนั้นพัฒนาการของพลาสติกก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันที่เราแทบจะสัมผัสมันในทุกนาที […]

พิซซ่าพาเพลิน

17/08/2018

ผมกลับมาที่พนมเปญ การได้กลับมาที่เมืองหลวงเล็กๆ ริมแม่น้ำเช่นนี้ให้ความรู้สึกผ่อนคลายอย่างยิ่ง พนมเปญมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับกรุงเทพฯ มีพระราชวังเขมรินทร์เป็นศูนย์กลาง มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายใหญ่หล่อเลี้ยง ผู้คนเดินเล่นริมแม่น้ำยามเย็น และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่รอบพระราชวังฯ คนเขมรกินข้าวเจ้าเป็นหลักเช่นเดียวกับคนไทย (คำว่าข้าวในภาษาเขมรคือบาย อันเป็นที่มาของคำว่าบายศรีในภาษาไทย) คนเขมรกินปลาเป็นหลัก (หลายคนคงจำปลากรอบเขมรอันโด่งดังได้) อาหารเขมรและอาหารไทยแทบแยกจากกันไม่ออก (โดยเฉพาะเรื่องของการทำอะไรตามสบายตามใจตนเอง) ไม่ว่าหน้าตาหรือรสชาติ การลิ้มรสอาหารเขมรให้ความรู้สึกไม่ต่างจากการกินอาหารไทย หากจะมีอาหารเขมรแบบพิเศษที่แตกต่างออกไปจากอาหารไทย สิ่งนั้นน่าจะได้แก่ “พิซซ่า” . การที่พิซซ่าเป็นอาหารพิเศษในเขมรนั้นไม่ใช่เพราะการที่มันเป็นอาหารตะวันตก แต่เป็นเพราะพิซซ่าในเขมรบางร้านมีรสและส่วนประกอบพิเศษอันได้แก่ กัญชา . การที่เขมรมีพื้นที่จำนวนมากติดกับแม่น้ำ การปลูกกัญชาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากเย็น ปลูกมันโดยการโยนเม็ดทิ้งไว้ สามหรือสี่เดือนมันอาจได้ต้นกัญชาที่พอใช้การได้ หลังจากนั้นตากแห้งและส่งขายแบบธรรมดา ผู้คนโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวในเขมรสูบกัญชาด้วยความอ้อยอิ่งตามที่พัก ตามบาร์ บนรถสามล้อถีบ ทั้งที่อาจจะไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น กัญชาเป็นส่วนผสมของอาหารหลายชนิดในเขมร ทั้งแกง ต้ม ไม่นับการผัดเผ็ดของป่าที่มักมีการหยอดช่อกัญชาลงไปด้วย กัญชาควบคู่มากับการปรุงอาหารในเขมรจนในที่สุดมันพัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของหน้าพิซซ่า – พิซซ่าหน้ากัญชา . ว่ากันว่าพิซซ่าหน้ากัญชาเริ่มจากที่พักเล็กๆ ริมน้ำแห่งหนึ่ง เจ้าของที่พักต้องหาอาหารให้กับนักท่องเที่ยวที่นอนอย่างเกียจคร้านในสถานที่ของตนเองทุกวัน เขาเกิดความคิดว่าถ้านักท่องเที่ยวเหล่านั้นไม่คิดจะออกไปท่องเที่ยวที่ไหน ทำไมไม่ปรุงอาหารที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนอย่างจริงจัง การทดลองของเขาได้ผล พิซซ่าที่โรยหน้าและผสมด้วยกัญญาถูกกล่าวถึงจากปากต่อปาก นักท่องเที่ยวพากันแห่แหนมาพักยังสถานที่นี่อย่างไม่หยุดหย่อน จนที่พักแห่งอื่นพากันสมัครใจทำตาม และในที่สุดมันก็กลายเป็นเมนูยอดนิยมแห่งกัมพูชา . พิซซ่าหน้ากัญชาหรือที่มีส่วนผสมของกัญชานั้นมีชื่อเรียกเฉพาะว่า – […]

Multi Task และโลกของ Panorama

17/08/2018

หลายปีก่อน ในคลาสเรียนวิชา Analysis in Visual Culture ของผม ซึ่งโดยปกติเราจะถกเถียงและพูดคุยกันถึงสื่อทางสายตาต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ วิดีโอ หนังสั้น คลิปในสื่อออนไลน์ ไปจนถึงแผ่นป้ายโฆษณา หรือรายการคอนเสิร์ตที่โด่งดัง แต่แล้วจู่ๆ นักศึกษาหญิงคนหนึ่งในคลาสที่มีท่าทีสงบเสงี่ยมเจียมตัวที่สุดคนหนึ่งก็ยกมือขึ้นถามผมว่าผมมีความคิดเช่นไรกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ของเด็ก รวมไปถึงข้อกล่าวหาจากพ่อแม่คู่หนึ่งที่มีอาชีพเป็นแพทย์ว่า เกมส์คอมพิวเตอร์เป็นภัยร้ายต่อเด็ก ทำให้เด็กสมาธิสั้น ไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีความสนใจในสิ่งที่จำเป็น ในครอบครัวของเขามีกฏว่า ห้ามลูกเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์เป็นอันขาด และนอกจากนี้ ความบันเทิงเดียวที่จะพอมีสำหรับลูกคือการอ่านหนังสือวรรณกรรมเยาวชนเท่านั้นเอง . คำถามของนักศึกษาผู้นี้รบกวนจิตใจผมตลอดบ่ายวันนั้น แน่นอนเราทุกคนล้วนรู้ดีว่า ทุกสิ่งในโลกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เกมส์คอมพิวเตอร์อาจมีสถานะภาพเป็นผู้ร้ายในสายตาของผู้ปกครองและคนรุ่นผมก็จริง แต่ลึกลงไปที่สุดหากเกมส์คอมพิวเตอร์ไม่มีข้อดีเอาเลย เด็กที่เติบโตมากับเกมส์เหล่านั้นจะมีชะตากรรมเช่นไร . การหาคำตอบในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งผมค้นลึกลงไปยิ่งพบว่า เกมส์คอมพิวเตอร์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของคนรุ่นใหม่ในหลายกรณี ทั้งในแง่ที่มันกำหนดให้เราสามารถไต่ระดับความสามารถไปได้แทบไม่สิ้นสุด พัฒนาการเช่นนี้ส่งผลให้เป็นไปได้ที่เราจะตกอยู่ในภวังค์และหมกมุ่น หรือมีแนวโน้มมากขึ้นที่คนเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์อาจกลายเป็นพวกหมกมุ่นกับตนเองหรือ introvert ในที่สุด . อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการค้นคว้าในเรื่องนี้ของผมจะขยายพรมแดนไปกว้างขึ้นเรื่อยๆ (ส่วนหนึ่งก็เพราะความเกรงใจคำถามจากนักศึกษาที่ไม่มีส่วนร่วมในชั้นเท่าใดนัก ซึ่งแสดงว่าเธอคงมีความอึดอัดขัดข้องในเรื่องนี้พอประมาณ) แต่ในระหว่างทาง ผมก็พบข้อสรุปที่น่าสนใจเป็นระยะๆ ในงานทดลองชิ้นหนึ่งของแดเนียล ไซม่อนส์ -Daniel Simons นักจิตวิทยาเรื่องการจดจำได้ของการมองหรือ Visual […]

การละเล่นแห่งนักสู้

19/07/2018

เย็นวันหนึ่ง ผมเดินออกจากบ้านพักในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในชนบท ชุดโปร่งสบายของผมในวันนั้นเป็นไปเพื่อการวิ่งออกกำลังกายในยามที่แดดอ่อนแรง สนามกีฬาเดียวที่มีในบริเวณนั้นอยู่ที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน ขนาดของสนามไม่ใหญ่โตนัก แต่ถูกใช้งานอย่างครบถ้วน แต่ละมุมของสนามมีกระเป๋านักเรียนถูกวางแทนตำแหน่งเสาประตู วงฟุตบอลเริ่มต้นแล้วในบางคู่ ในขณะที่ตรงบริเวณหัวกระโหลกกลางสนามมีกลุ่มนักเรียนหญิงตั้งแถวกางหนังยางเป็นเส้นยาว แล้วผลัดกันกระโดดไปมาอย่างสนุกสนาน ส่วนนักเรียนคนอื่นที่ยังไม่พึงใจกับกิจกรรมใด พากันขึ้นไปนั่งและนอนเหยียดยาวบนอัฒจรรย์ไม้ที่เก่าพอแรง เนื้อไม้เปลี่ยนสีไปมากแล้ว ไม่นับโครงเหล็กที่สีเดิมของมันเปลี่ยนเป็นสีสนิมแทนสีดั้งเดิมไปแล้ว . ผมเริ่มออกวิ่งจากมุมหนึ่งของสนาม โดยใช้ทิศทางตามเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ รอบที่หนึ่งผ่านไปอย่างไม่มีปัญหากับเข่าและความเหน็ดเหนื่อยในกาย แต่หลังจากผ่านไปสามรอบ ผมก็รู้สึกหอบขึ้นมา การวิ่งในสนามดินที่ไม่ราบเรียบทำให้จังหวะออกแรงนั้นไม่สม่ำเสมอ ไม่น่าเชื่อว่าสนามแบบนี้เป็นสนามที่ผมใช้เล่นกีฬามาแต่เด็ก แต่บัดนี้ มันกลายเป็นพื้นที่ที่ผมไม่คุ้นชินอีกต่อไปแล้ว . ผมตัดสินใจหยุดการวิ่ง มองหาตำแหน่งที่จะพักกายได้แม้ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังดี พื้นที่ของอัฒจรรย์นั้นคงต้องตัดทิ้งไป แทบจะไม่มีที่ว่างเหลืออยู่บนนั้น บริเวณเดียวที่เป็นไปได้คือ ใต้ต้นหูกวางขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างจากมุมธงของสนามด้านหนึ่งไปไม่ไกล ผมลากขาไปที่นั่น ทิ้งตัวลงที่โคนต้นหูกวาง เอนหลังพิงกับลำต้นขนาดใหญ่ ใบดกหนาของต้นหูกวางให้ความร่มเย็นและผ่อนคลายกับผมแทบจะทันที ผมกวาดใบแห้งของมันที่หล่นอยู่ตรงโคนต้นได้เป็นกองขนาดใหญ่ และใช้รองเป็นที่นั่ง ราวสิบนาที ต้นหูกวางต้นนั้น ก็กลายเป็นดังพื้นที่ส่วนตัวสำหรับการพักผ่อนของผมไม่ต่างจากร้านกาแฟติดแอร์ชั้นดีในเมืองใหญ่ . ลูกฟุตบอลลูกหนึ่งวิ่งผ่านมาทางผม และหลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งนาที หนุ่มน้อยคนหนึ่งก็วิ่งตามมา ผมโยนลูกฟุตบอลลูกนั้นกลับไปให้เขา ทั้งภาพของเขา ทั้งความนุ่มนวลของใบหูกวางที่ผมใช้แทนที่นั่งดึงผมย้อนกลับไปสู่อดีต อดีตที่กินเวลานานนับสิบปี . ในวัยเด็ก โรงเรียนของผมนั้นตั้งอยู่กลางทุ่ง ทำให้สนามฟุตบอลของเราถูกล้อมรอบด้วยท้องนาทั้งสี่ด้าน บ่อยครั้งที่เมื่อลูกบอลหลุดออกจากสนาม […]

ภาษากับความคิดสร้างสรรค์-2

18/07/2018

ภาษาเป็นสิ่งที่เราใช้สื่อสารซึ่งกันและกัน ความจริงข้อนี้ดูจะเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับและยากจะปฏิเสธ การมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นกระทำผ่านภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน หรือแม้แต่ภาษากาย (Body Language) แต่อำนาจของภาษาที่มีต่อมนุษย์เรานั้น จำกัดอยู่แค่การสื่อสารกระนั้นหรือ ในบทความตอนก่อน เราได้เห็นอำนาจของภาษาในการกำหนดทิศทาง ในการกำหนดความเป็นไปของเพศสภาพ (Gender) และดูเหมือนว่ายิ่งสืบค้นมากขึ้นเพียงใด เรายิ่งพบอำนาจของภาษาที่ส่งอิทธิพลต่อด้านอื่นๆ ของเรามากขึ้นทุกที . คีธ เชน (Keith Chen) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย UCLA ในสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยพบว่า ภาษานั้นส่งผลกระทบต่อนิสัยแห่งการอดออมของเรา เขายกตัวอย่างประเทศที่เจริญมากๆ อย่างกลุ่ม OECD หรือกลุ่ม Organization of Economics Co-operation and Development ที่มีทุกอย่างคล้ายคลึงกัน อาทิ มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เชื่อมั่นในการค้าเสรี เชื่อมั่นในความเท่าเทียมทางการค้า แต่ในประเทศกลุ่มนี้ มีทั้งความมั่งคั่งและระบบอุตสาหกรรมอันแข็งแกร่ง กลับมีอัตราการออมของผู้คนแตกต่างกันอย่างมากมาย . อะไรหรือคือปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการออม คีธ เชน บอกว่า มันคือ ภาษา!! . คีธ เชน ยกตัวอย่างภาษาที่แสดงออกถึงกาลเวลาหรือช่วงของเวลาอันแน่นอน […]

ภาษาและความคิดสร้างสรรค์ – 1

20/06/2018

พวกเราทุกคนรู้ดีว่าภาษาคือเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารระหว่างมนุษย์เรา พวกเรารู้ดีว่าภาษาเกิดจากเสียงที่มีคลื่นความถี่ที่เมื่อตกกระทบเข้ากับอวัยวะรับรู้เสียงอันได้แก่หู เราจะแปลงคลื่นเสียงที่ว่านั้นให้เป็นภาษา และจากภาษา เราจะเเปลงมันให้เป็นความคิด . มีภาษากว่าเจ็ดพันภาษาที่กำลังใช้กันอยู่ในโลกนี้ บางภาษามีเสียงที่ไม่คุ้นชิน บางภาษามีไวยากรณ์ที่ไม่เคยชิน บางภาษามีคนใช้เป็นจำนวนมาก บางภาษาถูกพูดและใช้กันเฉพาะกลุ่ม . คำถามที่น่าสนใจคือ “ภาษามีผลต่อการคิดและความคิดของเราหรือไม่ และถ้ามี มันมีผลมากหรือน้อยเพียงใด?” . เลรา โบโรดิสกี้ – Lera Boroditsky นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก้ ยกตัวอย่างงานวิจัยหนึ่งของเธอที่ข้องเกี่ยวกับชนเผ่าอะบอริจินในออสเตรเลีย ในกลุ่มอะบอริจินกลุ่มนั้น มีกลุ่มย้อยที่มีชื่อเรียกว่าพวก คุก ทายร์ (Kuuk Thaayorre) พวก คุก ทายร์ นั้นไม่มีภาษาหรือคำศัพท์ที่ใช้แยกระหว่างซ้ายและขวา แต่พวกเขาใช้ทิศแทนในการกำหนดตำแหน่ง อาทิ ขณะนี้กำลังมีมดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้คลานขึ้นไปบนขาของคุณ หรือคำทักทายในยามเช้าว่าคุณจะไปที่ไหน คำตอบจากพวกเขาแทนที่จะเป็นคำตอบธรรมดาสามัญ กลับเป็นคำตอบที่ซับซ้อนของทิศ เช่น ไปทางทิศเหนือและเลยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสักเล็กน้อย การที่พวก คุก ทายร์ ใช้ลักษณะภาษาเช่นนี้ ทำให้พวกเขามีความแม่นยำเรื่องทิศสูงกว่าผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้คนในเมืองใหญ่ๆ . ตัวอย่างเรื่องของภาษาอีกเรื่องคือ การนับจำนวน หากเรามีแมวอยู่แปดตัว แล้วเราตั้งคำถามกับลูกหรือเด็กน้อยว่า แมวทั้งหมดมีกี่ตัว […]

วิถีแห่งการอาบน้ำอุ่น

17/05/2018

เชื่อว่าเราทุกคนคงเคยผ่านการอาบน้ำอุ่นมาก่อนในยามเด็ก แม้ประเทศไทยจะอยู่ในดินแดนที่มีอากาศค่อนข้างอบอ้าว แต่ความเชื่อที่ว่าการอาบน้ำอุ่นนั้นดีต่อทารกเป็นสิ่งที่กระทำมาอย่างเนิ่นนาน จนแม้แต่มีคำพังเพยในสังคมไทยเปรียบเปรยสภาวะของผู้ใหญ่ว่า “เป็นพวกที่อาบน้ำร้อนมาก่อนเรา” แต่กระนั้นเมื่อหลายคนเติบโตเป็นผู้ใหญ่และสามารถเลือกการชำระล้างร่างกายที่เหมาะสมกับตนเองได้ บางคนจึงเลิกอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนและสมัครใจกับน้ำเย็นที่ให้ความสดชื่นมากกว่า แต่ก็มีหลายคนที่ยังพอใจกับการแช่น้ำอุ่นโดยเฉพาะเมื่อกลับจากการทำงานอันน่าเหน็ดเหนื่อยในแต่ละวัน . สัตว์นั้นมีการเลือกอุณหภูมิของน้ำในการทำความสะอาดตัวมันหรือไม่ สิ่งนี้จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด ในวันที่มีอากาศอบอ้าวด้วยแล้ว เราจะเห็นสุนัขหรือควายโจนลงไปแช่ปลักโคลนเพื่อระบายความร้อนเสมอ ถ้ามีสัตว์ที่ชอบน้ำเย็นแล้ว มีสัตว์ที่ชอบน้ำร้อนหรือพึงใจกับน้ำอุ่นหรือไม่ คำตอบคือมี โดยเฉพาะในเขตหนาวเย็นอย่างทางตอนเหนือของเกาะญี่ปุ่น สัตว์ชนิดหนึ่งที่มีเรียกว่าลิงภูเขาหรือ Snow Monkey หรือ Japanese Macaque เป็นสัตว์ที่จะกระโจนเข้าหาบ่อน้ำพุร้อนเพื่ออาบน้ำอุ่นทุกครั้งที่มันมีโอกาส . ในตอนแรก ทั้งผู้เลี้ยงและผู้พบเห็นคิดว่าการอาบน้ำอุ่นของพวกลิงภูเขานั้นเป็นไปเพื่อดับความหนาวเย็น แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโตค้นพบคำตอบที่น่าทึ่งกว่านั้นเมื่อไม่นานนี้เอง พวกเขาพบว่าเจ้าลิงภูเขาเหล่านี้อาบน้ำอุ่นหรือพึงใจกับการแช่น้ำร้อนเพื่อลดหรือบรรเทาสิ่งที่เรียกว่าความเครียดหรือ Depressive นั่นเอง . การวิจัยที่ว่านี้กระทำขึ้นที่สวนสัตว์จิโกคูดานิ – Jigokudani ในระหว่างช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และจากช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยใช้ลิงเพศเมียสิบสองตัวเป็นกลุ่มตัวอย่าง พวกเขาทำการสังเกตว่าลิงเหล่านี้อาบน้ำอุ่นบ่อยเพียงใด และทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระของพวกลิงภูเขาซึ่งอุจจาระเหล่านี้จะมีสาร glucocorticoid ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับความเครียดของลิง . การเก็บอุจาระดังกล่าวทำให้พบว่า พวกลิงจะใช้บ่อน้ำร้อนที่สร้างมาให้พวกมันมากครั้งกว่าในฤดูหนาวและลดการใช้ดังกล่าวลงเมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง ยิ่งในสัปดาห์ที่หนาวจัด พวกลิงจะอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำพุร้อนบ่อยครั้งขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่พวกลิงภูเขาอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำพุร้อนเป็นหลัก สารกลูโคฯ ในอุจจาระจะมีปริมาณลดลงด้วยซึ่งแสดงว่าระดับความเครียดของเจ้าลิงภูเขาลดลงด้วยเช่นกัน . สิ่งที่น่าสนใจคือการอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำร้อนในหมู่ลิงภูเขาไม่ได้เป็นไปในทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังมีนัยยะทางสังคมของลิงอีกด้วย ลิงตัวเมียที่เป็นจ่าฝูงจะใช้เวลาอาบน้ำอุ่นหรือแช่น้ำร้อนยาวนานกว่าลิงตัวอื่น มันแทบจะแช่อยู่ในน้ำร้อนทั้งวันด้วยซ้ำไป […]

เปลือยเท้าอย่างเข้าใจ

17/04/2018

“เด็กที่ใส่รองเท้าผ้าใบเป็นเวลานานอาจจะหลงลืมและละเลยคุณสมบัติอันละเอียดอ่อนของฝ่าเท้า ฝ่าเท้านั้นใช้ยึดจับพื้นดิน ทั้งนิ้วเท้า ส้นเท้า และข้อเท้า ช่วยสร้างสมดุลย์ในการทรงตัว ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าการเดินเท้าเปล่า จะช่วยเสริมภูมิต้านทานในร่างกาย เด็กจะแข็งแรงขึ้นหากเราช่วยให้ฝ่าเท้าของเด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติเป็นประจำ” . เร พิก้า (Rae Pica) นักจิตวิทยาเด็กเขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ “ประสบการณ์ต่อการเคลื่อนที่และดนตรี” (Experiencing in movement and music) ในบทความชิ้นนั้นเธอกล่าวว่า การเดินเท้าเปล่านั้นไม่ได้เพียงแต่เพิ่มสัมผัสต่อโลก หากแต่มันยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กอีกด้วย ความจริงที่ว่า เท้า ฝ่าเท้า และปลายเท้าของเรานั้นเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทรวมตัวกันมากที่สุด หากกระตุ้นมันอย่างสม่ำเสมอมีผลอย่างมากต่อระบบประสาทโดยรวมของร่างกาย . แล้วเพราะเหตุใดกัน เราจึงต้องใส่ใจกับรองเท้าและการใส่รองเท้าในเด็กเป็นพิเศษ (ประเภทของรองเท่าที่เด็กใส่บ่อยๆ จะกลายเป็นความเคยชินที่ติดตัวในเวลาต่อมา) เหตุผลหนึ่งที่ใช้กันอยู่เสมอคือ การป้องกันเด็กจากเชื้อโรคตามพื้นดิน แต่อย่าลืมว่าผิวหนังของมนุษย์ในยามปกตินั้นสามารถป้องกันจุลินทรีย์เหล่านั้นได้อย่างปกติอยู่แล้ว และอันที่จริงมือของเรานั้นเป็นส่วนที่สัมผัสเชื้อโรคมากกว่าส่วนอื่นๆ ถ้ามีความเชื่อตามเหตุผลนี้ เราคงต้องใส่ถุงมือแทบตลอดเวลาเป็นแน่… . อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนการใส่รองเท้าในเด็กคือ การป้องกันพวกเขาจากวัตถุหรือสิ่งของมีคม ซึ่งฝ่าเท้าของคนเราจะมีผิวหนังที่หนากว่าอวัยวะอื่นๆ ดังนั้น ถ้าเด็กๆ วิ่งเล่นตามปกติ แล้วไม่ไปเจอเศษแก้ว ของมีคมเข้าซะก่อน การบาดเจ็บบริเวณฝ่าเท้านั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย . การใส่รองเท้าในเด็กและใส่ติดต่อกันมายาวนาน จะมีผลต่อการบังคับรูปทรงของเท้าที่กำลังเติบโตอย่างอิสระ รองเท้าทำให้สัมผัสด้านทิศทางเปลี่ยนแปลงไป อาจมีผลให้สมดุลย์เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย […]

ผูกมิตรเช่นสุนัขป่า

15/03/2018

มีหลักฐานที่น่าสนใจว่าสุนัขเดินเคียงข้างมนุษย์เรานับแต่ยุคหินแล้ว โดยนักโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ได้พบว่ามนุษย์ยุคหินได้เปลี่ยนสุนัขป่าให้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงในยุคสมัยของเขา สุนัขยุคหินนั้นปรากฏในแถบเอเชียอันได้แก่ในเขตประเทศ จีน ไทย กัมพูชา ธิเบต เกาหลี และญี่ปุ่น ปีเตอร์ ซาโวไลเน่น – Peter Savolainen รองศาสตราจารย์ด้านไบโอเทคแห่งสถาบันเทคโนโลยีในสต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน ได้พบว่าสุนัขเลี้ยง (Canis Familiaris) ในดินแดนแถบนั้นมีรหัสทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับสุนัขป่า (Canis Lupus) และเชื่อว่าการกลายพันธุ์ที่ว่ากินเวลาราว 15,000 ปีนับจากปัจจุบัน หลังจากนั้น เชื่อได้ว่าสุนัขได้ติดตามการอพยพของผู้เป็นเจ้าของจากดินแดนเอเชียเข้าสู่ดินแดนอเมริกาโดยผ่านไปทางไซบีเรีย ข้ามช่องแคบเเบริ่ง และลงไปยังอลาสก้าในเวลาต่อมา . อย่างไรก็ตาม การที่ซากฟอสซิลเก่าแก่ที่สุดของสุนัขเลี้ยงที่ค้นพบมีอายุเพียงเจ็ดพันปี การตั้งสมมุติฐานที่ว่าสุนัขเลี้ยงได้เริ่มกลายพันธ์มาถึงหนึ่งหมื่นปีจึงถูกโต้แย้ง Juliet Clutton – Brock นักธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวว่าการคาดการณ์การกลายพันธ์เป็นสองเท่าของประวัติศาสตร์ของสุนัขเลี้ยงดูจะเกินจริงเกินไป . การแสวงหาอายุที่แท้จริงของสุนัขเลี้ยงตัวแรกอาจจะยังไม่ยุติ แต่ข้อสรุปที่แน่นอนคือสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดแรกของมนุษย์ สาเหตุนั้นมาจากการที่สุนัขมีความสามารถในการค้นหาอาหารได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ลิงอาจเป็นสัตว์ที่ดูเข้ากับมนุษย์และคล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่า แต่สุนัขสามารถถูกฝึกได้ การมองตามสายตาของผู้เป็นนายเพื่อนำสัตว์ที่ล่ามามอบให้ หรือการปกป้องอันตรายจากสัตว์อื่น สุนัขมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมมากกว่าสัตว์ใดๆ อย่างไรก็ตาม การกลายพันธ์ของสุนัขบ้านจากสุนัขป่าก็ยังคงทิ้งร่องรอยหลายอย่างไว้ในตัวของมัน อาทิ การหวงแหนพื้นที่ การออกไล่ล่าหรือเข้าทำร้ายสิ่งใดแบบเป็นฝูง และการยอมรับสุนัขในฝูงเหมือนดังพี่น้องของมันเอง พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนถูกถ่ายทอดลงมานับหลายพันปี […]

เมื่อสมองทำงานเพื่อผู้อื่น คุณจะชราช้าลง

13/02/2018

ครั้งสุดท้ายที่เรานอนกลางป่านั้นเมื่อใดกัน? เชื่อว่าหลายคนคงเคยร่วมกิจกรรมกลางแจ้งในสมัยเด็กๆมาไม่มากก็น้อย การออกค่ายลูกเสือ การเข้าค่ายสมัยเป็นนักศึกษา ชีวิตที่มีการกางเต๊นท์ ก่อกองไฟ ร้องเพลงหรือทำสันทนาการร่วมกัน สามหรือสี่วันประมาณนั้นก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน พร้อมกับความสดชื่นของร่างกายและอากาศบริสุทธิ์เต็มปอดหลังจากนั้น หลายคนอาจไม่มีโอกาสเช่นนั้นอีก ในขณะที่หลายคนกำหนดตารางเวลาว่าต้องมีสักครั้งในหนึ่งปีที่การใช้ชีวิตแบบนั้นจะเกิดขึ้น การได้รับอากาศบริสุทธิ์ การเข้าไปในป่าลึก ท่ามกลางความเงียบ ไร้แสงสีธรรมชาติ มีเพียงการขึ้นและลงของดวงอาทิตย์ ที่กำหนดโมงยาม ทั้งหมดนี้มีอะไรน่าดึงดูดหรือ . สถาบันแม๊กซ แพลงค์- Max Planck ในเยอรมันได้ทำการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือ Urban Dweller กับอิทธิพลของป่าเขาและได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ เสียง มลพิษ และพื้นที่อยู่อาศัยที่จำกัดก่อให้เกิดความเครียดมากมายแก่คนเหล่านั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า โรคกังวล หรือโรคเครียด สมองส่วนอมิกดาล่า-Amydgdala อันเป็นส่วนที่ใช้รับมือกับความอันตรายของพวกเขามีแนวโน้มที่จะทำงานหนักกว่าสมองของคนทั่วไป ไซม่อน คุนห์-Simon Kuhn นักวิจัยของสถาบันฯ ได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจากคนเมืองที่ย้ายตนเองไปอาศัยอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะ ป่า หรือพื้นที่สีเขียว เขาพบข้อสังเกตเบื้องต้นที่น่าสนใจว่าสมองอมิกดาล่าของบุคคลเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีกว่าบุคคลที่อาศัยอยู่ในเมืองแบบปราศจากพื้นที่สีเขียว นอกจากนี้เขายังค้นพบว่าการแก่ชราของบุคคลประเภทแรกเป็นไปอย่างปกติ จากการทำกระบวนการสมองแบบ MRI ตัวอย่างของผู้เข้ารับการทดสอบจำนวน 341 คนมีอาการหลงลืม หรือเครียดมีน้อยกว่าบุคคลในวัยเดียวกันที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง . ส่วนประเทศสหรัฐฯ เจน พลูสเนอร์ -Jens […]

รักนั้นเป็นฉันใด?

30/09/2017

“ความรักที่ไม่รู้จักวิธีรักมีแต่จะทำให้ผู้ที่ถูกรักเจ็บปวด” การพยายามนิยามสิ่งที่เรียกว่า”ความรัก”เป็นสิ่งที่มนุษย์กระทำติดต่อกันมาอย่างเนิ่นนาน บ้างก็กระทำผ่านความคิดทางปรัชญา บ้างก็กระทำผ่านกระบวนการทางจิตวิทยา และมีก้าวล่วงไปถึงการกระทำผ่านสมการคณิตศาสตร์ด้วยซ้ำไป กระนั้นก็ดูเหมือนความกระจ่างในความรักยังคงเป็นสิ่งที่มนุษย์เพียรค้นหาต่อไป ติช นัท ฮันท์ พระภิกษุชาวเวียดนามที่มีชื่อเสียงในด้านของการอบรมการภาวนาและการแสวงหาสันติภาพภายในตน ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า “จะรักกันอย่างไร-How To Love” อันเป็นหนังสือที่บอกถึงถ้อยความการเรียนรู้ความรักในฐานะประสบการณ์สำคัญของชีวิต ประเด็นสำคัญของความรักในแง่มุมของ ท่าน นัท ฮันท์ คือการเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าความเข้าใจ “ความรักและความเข้าใจคือสิ่งเดียวกันแต่มีชื่อเรียกขานต่างกัน” ทว่าความเข้าใจในที่นี้ไม่ใช่ความเข้าใจในความต้องการของคู่รักอีกฝ่ายแต่เป็นความเข้าใจในความทุกข์และความเจ็บปวดของอีกฝ่ายแทน โดยท่าน นัท ฮันน์ ได้เปรียบเทียบความเข้าใจที่ว่านี้ด้วยการอุปมาว่า “หากเราเติมเกลือสักหนึ่งกำมือลงในน้ำบริสุทธิ์ น้ำบริสุทธิ์ที่ว่านั้นจะเค็มจนเราดื่มไม่ได้ แต่หากเราโยนเกลือกำมือนั้นลงไปในแม่น้ำ ผู้คนทั่วไปยังสามารถใช้น้ำนั้นหุงหาอาหาร ชำระร่างกายหรือแม้แต่ดื่มกิน แม่น้ำนั้นมีขนาดใหญ่และมีศักยภาพที่จะแบกรับ โอบกอดหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่ผสมรวมกับมัน ถ้าหัวใจของเรามีขนาดเล็ก มันก็จะสร้างความเข้าใจหรือมีความกรุณาได้เพียงเล็กน้อย เราไม่อาจยอมรับหรืออดทนต่อสิ่งต่างๆ ได้เพียงจำกัดและเราจะเริ่มเรียกร้องต่อสิ่งต่างๆให้ทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเรา แต่เมื่อหัวใจของเราขยายตัวขึ้น กว้างขวางขึ้น เราก็จะรับความทุกข์ทรมาณได้มากขึ้นและเราจะไม่เจ็บปวดง่ายเช่นเดิม ไม่ทุกข์เช่นเดิม เราจะเปี่ยมด้วยความเข้าใจและความกรุณาและเราจะโอบกอดผู้อื่นได้อย่างท่วมท้น เราจะยอมรับผู้อื่นในสิ่งที่เขาเป็นและนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่พวกเขาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตนเอง” ดังนั้นคำถามคือ”เราจะขยายขนาดของหัวใจของเราได้อย่างไร? เราจะเเผ่ปริมณฑลหัวใจของเราได้อย่างไร?” คำตอบของท่าน นัท ฮันท์ คือการมีความสุข “ยิ่งเราสร้างจิตใจของตนเองให้สงบและเป็นสุขได้มากเพียงใด เราก็จะสามารถพัฒนาคุณสมบัติที่จะรักได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าใจความทุกข์ของผู้อื่นคือการให้ที่ทรงพลังมากและการเข้าใจที่ว่านั้นคือความรักในตัวของมันเองเลยทีเดียว ถ้าเราไม่เข้าใจความทุกข์ของผู้อื่น การมีความรักก็เป็นเรื่องที่ยากเย็นทีเดียว” ด้วยเหตุนี้เอง […]

รักนั้นเป็นฉันใด-2

30/09/2017

ความอ่อนโยนเกี่ยวข้องกับความรักอย่างไร ท่าน ติชนัท ฮันท์ ได้กล่าวว่า “แก่นของความอ่อนโยนนั้นอยู่ที่การมอบความสุขให้ผู้อื่น เรามีศักยภาพที่จะเป็นดังดวงตะวันให้กับผู้อื่นได้ แต่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเป็นดวงตะวันให้ตนเอง ดังนั้นเราต้องเริ่มด้วยการยอมรับตนเอง ต้องเริ่มด้วยการเรียนรู้ที่จะรักและเยียวยาตนเอง เรียนรู้ที่จะมีสติที่จะสามารถสร้างความสุขและความเบิกบานให้แก่ตนเอง และเมื่อนั้นเองเราจะเริ่มพร้อมที่จะมอบมันให้แก่บุคคลอื่น” ในแง่ของความสงบนั้น ท่าน นัท ฮันท์ ได้เปรียบเทียบกับคำสันสกฤตคืออุเบกขา แปลว่า”การไม่แบ่งเขาแบ่งเรา” ซึ่งในความรักนั้นหมายถึงการไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเราและบุคคลที่เรารัก ความทุกข์ของคนที่เรารักคือความทุกข์ของเรา และความทุกข์ของเราก็คือความทุกข์ของคนที่เรารัก การพูดว่านั่นเป็นปัญหาของคุณคือการแสดงออกถึงการไม่เข้าใจและไม่ใส่ใจอย่างถึงที่สุด นอกเหนือจากองค์ประกอบทั้งสี่อันได้แก่ความอ่อนโยน ความกรุณา ความไม่แบ่งเขาแบ่งเราและความปิติเริงรื่นแล้ว คุณสมบัติย่อยที่สำคัญอีกข้อคือความไว้เนื่อเชื่อใจหรือความศรัทธาซึ่งกันและกัน ความรักที่ปราศจากความเชื่อใจย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เช่นเดียวกันกับที่เราต้องสร้างความศรัทธาหรือความไว้เนื้อเชื่อใจในตนเองเสียก่อน เริ่มต้นด้วยความเชื่อใจว่าเรามีคุณความดีที่แฝงเร้นอยู่ในตัวและสามารถพัฒนามันได้ และเมื่อเราประจักษ์เช่นนั้นในตนเอง เราย่อมประจักษ์มันในบุคคลอื่นด้วยเช่นกัน ท่าน ไดเซ็ต ซูซูกิ เป็นนักบวชเซ็นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษก่อนเคยกล่าวไว้ว่า “การยึดมั่นตัวตนของเราเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการเติบโตของเราในทุกๆด้าน” ซึ่งท่าน นัท ฮันท์ เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นโดยแท้จริง คำว่า “ฉัน” หรือ “ตัวฉัน” เข้าไปข้องเกี่ยวในทุกสิ่งของชีวิตเราโดยเฉพาะในกรณีของความรัก “ฉัน” หรือ “ตัวฉัน” มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเราพูดคำว่า “ฉันรักเธอ” ฉันผู้นั้นจะเริ่มต้นกำหนดทุกสิ่ง ฉันผู้นั้นจะสนใจตัวฉันที่กำลังมีความรักแทนที่จะสนใจความรักที่ก่อตัวขึ้น และทำให้เขาหลงลืมหลายสิ่งหลายอย่างไป […]

เมื่อโลกร้อนรนเกินกว่าเราจะทนอยู่ (ตอนจบ)

31/08/2017

เป็นเวลานานหลายศตวรรษที่ความพยายามในการกำราบการระบาดของโรคมาลาเรีย หรือโรคที่เกิดจากไวรัสซิก้า (Zika) ที่มียุงเป็นพาหะได้รุดหน้าไป ทว่าหลังการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในโลก ได้ทำให้ยุงที่เคยแพร่หลายอยู่ในเขตร้อนชื้น สามารถขยายอาณาบริเวณในการมีชีวิตของมันได้ นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ยุงสามารถเติบโตเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ แล้วพร้อมวางไข่ได้เร็วขึ้นด้วย

บทสนทนาต่างสปีชี่ยส์

31/08/2017

เราทุกคนล้วนมีสัตว์เลี้ยงหรือเคยมีสัตว์เลี้ยงและย่อมเคยสนทนากับสัตว์เลี้ยงอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต แน่นอนเรารู้ว่าสัตว์เลี้ยงไม่อาจเข้าใจในสิ่งที่เราสนทนาในเชิงภาษาได้ มันอาจเข้าใจเราจากท่าทาง การกอด การลูบหัวหรือการแสดงออกอื่นๆ เรารู้ว่ามันไม่อาจโต้ตอบเราในเชิงภาษาได้ แต่ทำไมเราจึงยังกระทำเช่นนั้น

เมื่อโลกร้อนรนเกินกว่าเราจะทนอยู่ (ตอนที่ 2)

30/07/2017

มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ไม่อาจเก็บความร้อนไว้ในตัวได้ แม้ว่าเราจะต้องการความร้อนเพื่อการเผาผลาญพลังงานก็ตามที การระบายความร้อนของมนุษย์จะปรากฏให้เห็นหลังการออกกำลังกายด้วยการหอบออกมาหรือการต้องการน้ำดื่มอย่างกระทันหัน ดังนั้นหากโลกร้อนขึ้นจากอุณหภูมิปกติเพียง 7 องศาฟาเรนไฮต์ (ราว 13.89 องศาเซลเซียส) ร่างกายของมนุษย์ก็ยากจะทนทานอยู่ได้ โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่แถบเส้นศูนย์สูตร และสำหรับผู้คนทั่วโลกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไปถึง 12 องศา (ฟาเรนไฮต์) จะหมายถึงการสูญสิ้นของเผ่าพันธ์ุมนุษย์เลยทีเดียว

เมื่อโลกร้อนรนเกินกว่าเราจะทนอยู่ (ตอนที่ 1)

22/07/2017

หากวิกฤตโลกร้อนที่ว่านี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริง เพราะเหตุใดเล่าเราถึงหาได้รู้สึกมีส่วนร่วมกับวิกฤตที่ว่าเลยแม้แต่น้อย อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเฉยเมยกับปัญหาสำคัญที่ว่านี้ได้ นักอุตุนิยมวิทยานาม เจมส์ ฮันเซ่น-James Hansen ได้ให้ความเห็นว่า ความเฉยเมยที่ว่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุสองประการ ประการแรกนั้นเกิดจากการที่นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องปัญหาโลกร้อนไม่สามารถค้นหาภาษาที่จะใช้สื่อสารกับผู้คนทั่วไปได้อย่างง่ายดายหรือราบรื่น ประการที่สองคือเหล่าบรรดาเทคโนแครต-Tecnocrat หรือผู้ที่ยึดมั่นในการใช้เทคนิควิทยาการเพื่อพัฒนาโลก ล้วนดาหน้าออกมาชี้แจงว่าปัญหาโลกร้อนเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมและจัดการได้และเสียงพูดของพวกเขานั้นดังและกินพื้นที่กว่าเสียงของผู้เตือนภัยจากวิกฤตนี้อย่างเทียบกันไม่ได้เลย

โรคภัยจากความยุ่งเหยิง

22/06/2017

เราทุกคนล้วนเคยตกอยู่ในสภาวะวุ่นวาย ยุ่งเหยิง เราตื่นขึ้นในเช้าวันจันทร์พร้อมความรู้สึกว่ามีอะไรอีกมากมายที่ยังทำไม่เสร็จและไม่อยากไปปรากฏตัวที่ที่ทำงานเลย เราจบวันศุกร์ด้วยความโล่งอกก่อนจะพบว่าตื่นขึ้นในเช้าวันจันทร์ด้วยความรู้สึกเช่นเดิม นี่คืออาการแบบหนึ่ง หรืออีกอาการ เราปฏิเสธการสังสรรค์ การพบเจอคน ด้วยความรู้สึกว่าเรามีหลายสิ่งแบกบนบ่าที่ต้องจัดการ เราเก็บตัวเงียบ ตั้งมั่นกับการทำงานก่อนจะพบว่าเรายังมีบางสิ่งแบกบนบ่าเหมือนเดิม ไม่เบาบางลงเลย ทางแก้ของการตื่นให้เช้าขึ้น เพิ่มเวลาทำงานให้มากขึ้น ดูไม่ช่วยเหลืออะไร หนทางแก้ไขความยุ่งเหยิงอยู่ที่ไหนกัน?

หนึ่งกิจกรรมต่อวัน หนึ่งความสุขที่ยั่งยืน

22/06/2017

“Being a giver rather than a taker” จงเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ ถ้อยคำอันเรียบง่ายนี้มีความหมายในการหาความสุขในแต่ละวัน การเสียสละเพื่อผู้อื่นคือการกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทน และการปรับใช้การกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทนด้วยการสร้างกิจกรรมที่ต่อเนื่องในแต่ละวัน คือ ยาที่ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า หดหู่ หรืออาการหม่นหมองได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง

ปรัชญาว่าด้วยการทอดทิ้งเวลาให้ผ่านไป

27/05/2017

ราทุกคนล้วนต้องเคยประสบกับความทุกข์ใจอันเนื่องจากการที่รู้สึกว่า มีงานมากมายรอให้เราสะสางโดยที่เราไม่อาจรับมือมันได้… ในที่สุดเราก็พูดกับตัวเองว่า “ขอเวลาให้ฉันมากกว่านี้ได้ไหม” ทว่าในความเป็นจริง การเรียกร้องเวลาเพิ่มไม่ใช่ทางออกในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่เราควรทำคือ “ผลาญเวลาให้หมดไปกว่าที่เป็นมา”

เมื่อความกลัวไล่ล่าคุณ

22/05/2017

การที่ความหวาดกลัวโจมตีเราได้ง่ายและอย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นเพราะความหวาดกลัวและความกลัวเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในสมอง เมื่อเราเกิดความกลัวขึ้นในยามใดมันจะขยายตัวไปเรื่อยดังลูกคลื่นที่ขยายตัวก่อนถึงฝั่ง ร่างกายเราจะสนองตอบต่อความกลัวเพื่อปกป้องและป้องกันเราจากอันตราย หัวใจของเราจะเต้นแรงขึ้น ลมหายใจของเราจะกระชั้นขึ้น กล้ามเนื้อของเราจะแข็งเกร็ง เพื่อเตรียมตัวต่อสู้ หรือตอบโต้ต่อสิ่งที่เราหวาดกลัวนั้นๆ กระบวนการของความกลัวในสมองของเรานั้นประกอบไปด้วยห้าขั้นตอนดังนี้

คนสวนแห่งความทรงจำ

19/05/2017

ในอดีตมีความเชื่อว่าการฝึกฝนในสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น ภาษา ศิลปะ การแสดง หรือสิ่งต่างๆจะทำให้เรามีความชำนาญมากขึ้น ตามคำกล่าวที่ว่า มีแต่การฝึกฝนเถิดจะเกิดความเชี่ยวชาญ หรือ Practice makes Perfect แต่ปัจจุบันพบว่านอกจากการฝึกฝนแล้ว การกำจัดหรือลบเลือนสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในสมองก็ช่วยทำให้มีความชำนาญในสิ่งที่เราสนใจมากขึ้นด้วย

เมื่อโรงพยาบาลเปลี่ยนไป

19/05/2017

ไม่มีใครปรารถนาการอยู่ในโรงพยาบาลให้นานเกินไปหรืออย่างน้อยก็ปรารถนาที่จะออกจากโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปัญหาที่ว่านี้ ทุกโรงพยาบาลรู้ดี ทุกผู้ป่วยรู้ดี ความรื่นรมย์เป็นสิ่งที่ขาดหายจากโรงพยาบาล ทว่าหลายโรงพยาบาลยอมปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปเช่นเดิม หากแต่โรงพยาบาลสายตาในรอตเตอร์ดัมหรือ Rotterdam Eye Hospital ไม่ยอมเป็นเช่นนั้น

กลลวงของสมอง (ตอนที่ 2)

28/03/2017

การเกิดขึ้นของความทรงจำมนุษย์แต่แรกเริ่มนั้นมีที่มาที่ไปที่แตกต่างจากความทรงจำที่เราใช้ในปัจุบันมากมายนัก ความทรงจำในระบบสมองนั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เริ่มพัฒนาขึ้นในมนุษย์เมื่อหนึ่งล้านแปดแสนปีก่อนหรือในยุคหินใหม่ (Pleistocene) ก่อนจะหยุดการพัฒนาเมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว

กลลวงของสมอง (ตอนแรก)

27/03/2017

มนุษย์เรามีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับสมองของตนเอง เช่นความเชื่อที่ว่าหากเราไม่ขบคิดอะไรเลยหรือนั่งอยู่เฉยๆ สมองจะตกอยู่ในสภาพพักผ่อน ทั้งที่ในความเป็นจริง สภาวะเช่นนั้นสมองของเรากลับอยู่ในสภาพที่ทำงานอย่างเต็มที่ หรือความเชื่อที่ว่าเมื่อเรามีอายุมากขึ้นสมองจะเริ่มเสื่อมลงและเราไม่สามารถทำอะไรที่หยุดยั้งหรือฟื้นฟูมันได้ ในความเป็นจริง สมองไม่เคยหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อมันต้องเผชิญกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยสมองนั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้สามทาง

ตะวันออก-ตะวันตก เขาวงกตของความคิด (2)

24/02/2017

ความแตกต่างระหว่างตะวันออกกับตะวันตก ยังปรากฏในวิธีการมองโลกด้วย ริชาร์ด นิสเบต (Richard Nisbett) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ทำการวิจัยพบว่า ยามจ้องมองสิ่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนหรือภาพถ่าย คนตะวันออกมักจะให้ค่ากับการจ้องมองฉากหลังหรือ Background มากกว่าคนตะวันตก ในขณะที่คนตะวันตกจะสนใจตำแหน่งสำคัญของภาพวาด หรือภาพเขียนเหล่านั้นแทน

ตะวันออก-ตะวันตก เขาวงกตของความคิด (1)

17/02/2017

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในแง่ของความคิดของมนุษย์คือ พื้นที่ ดินแดน เชื้อชาติ เพศสภาวะ นั้นมีผลต่อความคิดของเราหรือไม่ ชายคิดต่างจากหญิงไหม เด็กคิดต่างจากผู้ใหญ่หรือไม่ หรือ คนตะวันออกคิดต่างจากคนตะวันตกอย่างไร หรือในที่สุดแล้วไม่มีความคิดที่แตกต่างกันหรืออาจแตกต่างกันจนสุดขั้ว

นอนใครคิดว่าไม่สำคัญ?

16/01/2017

มีใครไม่เคยหลับหลังอาหารกลางวันบ้างไหม แน่นอน พวกเราทุกคนล้วนเคยหลับหลังอาหารกลางวัน โดยเฉพาะในชั้นเรียนอนุบาลที่แทบทุกคนล้วนถูกบังคับให้นอน ทว่าพฤติกรรมที่ว่านี้จะลดน้อยถอยลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้นและมากขึ้น และมันแทบจะกลายเป็นเรื่องผิดปกติเมื่อถึงวัยทำงาน

Illusion of Thought

15/01/2017

ปรากฏการณ์ที่เราไม่อาจทำใจเชื่อว่ามีกอริลลาปรากฏตนขึ้นท่ามกลางการทดลองที่ให้ผู้ทดลองส่งลูกบาสเก็ตบอลไปมา ว่าเป็นเพราะมนุษย์เราโดยทั่วไปไม่อาจทำใจยอมรับความหลงผิดในสิ่งที่ตนเองได้เชื่อไปแล้วล่วงหน้าถึงแม้จะมีหลักฐานยืนยันในภายหลังก็ตามที เขากล่าวว่ามนุษย์นั้นไม่ได้ตกหลุมภาพลวงตาเท่านั้น (Illusion Visual) แต่ยังตกหลุมอาการลวงใจหรือกลลวงทางความคิดที่เรียกว่า Illusion of Thought อีกด้วย

Thinking Fast, Thinking Slow-1

29/12/2016

แนวคิดเรื่องความคิดและการตัดสินใจที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (Sudden Judgment) นั้น เป็นเพียงหนึ่งในความคิดที่เราใช้จัดการสิ่งต่างๆในโลก อันที่จริงมนุษย์มีความคิดในสองระบบที่ใช้คู่เคียงกันไป ความคิดหรือการกระทำอีกแบบหนึ่งนั้นเป็นความคิดหรือการกระทำที่ต้องใช้สมาธิและการจดจ่อ (Pay Attention) และไม่อาจใช้การตัดสินใจหรือการคิดหรือการกระทำแบบฉับพลันได้

จิตใต้สำนึกที่ปรับตัวพร้อม Adaptive Unconsciousness (ต่อ)

23/12/2016

กระบวนการที่หลายสิ่งส่งผลต่อจิตใต้สำนึกและการกระทำหลายอย่างของเราจนทำให้เราแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัวหรือ Blink ถูกนำเสนอให้เห็นผ่านทางการทดลองของนักจิตวิทยานาม จอห์น บารจ์- John Bargh เขาทดลองเรื่องนี้ด้วยการลองเขียนถ้อยความจำนวนมากที่แอบแฝงสารทางภาษาบางอย่างไว้และให้ผู้ทดสอบทำการสร้างประโยคผ่านถ้อยคำเหล่านั้น สิ่งที่เขาพบน่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง

จิตใต้สำนึกที่ปรับตัวพร้อม (ตอนที่ 1) Adaptive Unconsciousness

30/11/2016

เคยรู้สึกบ้างไหมว่ามีใครบางคนที่เราเพียงแค่ประสพพบหน้าเขา เรากลับรู้สึกต้องชะตาเป็นอย่างยิ่ง และมีใครหลายคนที่เพียงแค่การชำเลืองมองเพียงแวบเดียว เรากลับรู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจ หรือถึงขั้นชิงชัง… อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้นและอะไรคือสิ่งที่ปรากฏในภายหลังว่าความคาดคิดของเราล้วนเป็นจริง

ศาสตร์ว่าด้วยการเยียวยาตนเองของร่างกาย

26/11/2016

รางวัลโนเบลประจำปี 2016 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตกเป็นของ ศาสตราจารย์ โยชิโนริ โอสุมิ- Yoshinori Ohsumi ด้วยหัวข้องานวิจัยด้าน Autophagy – ศาสตร์ว่าด้วยการเยียวยาตนเองของร่างกาย