Illusion of Thought

By : Anusorn Tipayanon


Daniel Kahneman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลผู้เขียน Thinking,Fast and Slow ได้เขียนเพิ่มเติมถึงปรากฏการณ์ที่เราไม่อาจทำใจเชื่อว่ามีกอริลลาปรากฏตนขึ้นท่ามกลางการทดลองที่ให้ผู้ทดลองส่งลูกบาสเก็ตบอลไปมา ว่าเป็นเพราะมนุษย์เราโดยทั่วไปไม่อาจทำใจยอมรับความหลงผิดในสิ่งที่ตนเองได้เชื่อไปแล้วล่วงหน้าถึงแม้จะมีหลักฐานยืนยันในภายหลังก็ตามที เขากล่าวว่ามนุษย์นั้นไม่ได้ตกหลุมภาพลวงตาเท่านั้น (Illusion Visual)แต่ยังตกหลุมอาการลวงใจหรือกลลวงทางความคิดที่เรียกว่า Illusion of Thought อีกด้วย

Kahneman ท้าทายเราด้วยการให้เราเพ่งมองภาพลวงตาที่รู้จักกันโดยทั่วไปแคือภาพลวงตาของ Muller-Lyer อันเป็นภาพเส้นตรงที่มีการต่อลูกศรออกไปทั้งแบบเข้าหาและพุ่งออก ภาพลวงตาภาพนี้แม้จะถูกเฉลยให้รู้กันอย่างแพร่หลายว่าเส้นตรงแนวนอนตรงกลางทั้งสองเส้นนั้นมีความยาวเท่ากันก็ตาม หากแต่ในความเป็นจริงเราสามารถมองมันอย่างเท่ากันได้จริงหรือ ไม่มีทาง ทุกครั้งที่เรามองภาพนี้ เส้นนอนด้านล่างดูจะมีความยาวกว่าเส้นนอนด้านบนอยู่เสมอ นั่นแสดงให้เห็นว่า ต่อให้เราล่วงรู้ความจริงก็ตาม แต่สิ่งที่รู้มาหาได้เปลี่ยนภาพที่ปรากฏในสายตาและความคิดของเราไปได้

เช่นเดียวกัน การที่เราจดจ่อกับการส่งลูกบาสเก็ตบอลแล้วมีใครสักคนบอกว่ามีกอริลลาหนึ่งตนเดินผ่านหน้าเราไป แรกเริ่มเราปฏิเสธมัน แต่เมื่อความจริงปรากฏ เรายอมรับมัน หากแต่ถ้ามีการทดลองซ้ำอีก มีกอริลลาเดินผ่านไปอีก เราย่อมไม่เห็นมันอยู่ดี เราเห็นในสิ่งที่เราเห็นและเราไม่มีวันเห็นในสิ่งที่เราไม่มีวันเห็น

ประเด็นสำคัญคือเรามีหนทางฝึกฝนแบบใดบ้างเพื่อเอาชนะภาพลวงตาและอาการลวงใจเช่นนี้ สำหรับภาพลวงตาเรามีสิทธิทดสอบมันได้เพราะมันเป็นสิ่งที่ปรากฏ แต่อาการลวงใจนั้นดูจะยากเย็นกว่านั่นเป็นเพราะมันเกิดขึ้นจากความเคยชินและความเกียจคร้านแห่งการใช้เหตุผล

เหตุผลหรือ Reason เป็นสิ่งที่เราเชื่อว่าเราได้ใช้ความพยายามเพื่อจะค้นหามัน แต่ในความเป็นจริงความพยายามเหล่านั้นอาจเป็นเพียงอาการลวงใจ เราถูกหลอกว่าเรากำลังใช้เหตุผล แต่แท้จริงเราเพียงใช้ความเชื่อเดิมและความเคยชินเท่านั้นเอง https://www.acheterviagrafr24.com/viagra-pharmacie/ สิ่งนี้ Kahneman เรียกว่าการตอบโต้เชิงสัญชาตญาณหรือ Intuitive Response และเราใช้การตอบโต้เช่นนี้เสมอเวลาเราเจอปัญหาที่เราคิดว่ามันไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนใดๆ และโลกในชีวิตประจำวันของเราก็ถูกขับเคลื่อนไปด้วยแรงตอบโต้ทางสัญชาตญาณเช่นนี้เพียงแต่เรามักคิดว่ามันเป็นการใช้เหตุผลแทน

มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เราหลงเชื่อว่าสิ่งนั้นและสิ่งนี้เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ปัจจัยหนึ่งนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า Prime Effect คือการที่บางสิ่งส่งผลต่ออีกสิ่งโดยที่เราคาดไม่ถึง ตัวอย่างง่ายๆตัวอย่างหนึ่งคือการเล่นเกมส์เติมคำในช่องว่าง โดยการกำหนดตัวอย่างหนึ่งก่อนหน้า อาทิคำในช่องว่างที่ว่า S O_ P หากคำก่อนหน้าคือคำว่า WASH ที่แปลว่าการชำระล้าง คำในช่องว่างที่เราจะเติมโดยแทบไม่คิดคือ A ซึ่งจะทำให้ความหมายสมบูรณ์ คือ SOAP ที่แปลว่าสบู่ หากแต่ถ้าคำที่มาก่อนหน้าคือคำว่า EAT คำในช่องว่างที่เราจะเติมคือ U ซึ่งจะทำให้ความหมายสมบูรณ์คือ SOUP ที่แปลว่าซุปแทน การที่เราแทบไม่ขบคิดอะไรเลยเป็นไปตามกลไกกระบวนการความคิดขับเคลื่อน-Ideomotor (ดังได้กล่าวมาในรูปแบบหนึ่งใน Blink ตอนที่สาม) กระนั้นการคิดถึงถ้อยคำเหล่านี้ไม่ได้มีผลแค่ในการเล่นเกมส์ ในยามที่เรามีความหิว คำในช่องว่างที่เราะเติมให้สมบูรณ์ คือ SOUP ซุป ไม่ใช่ SOAP สบู่แน่ๆ ตัวอย่างง่ายนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการความคิดแบบรวดเร็วนั้นมีปัญหา มันเกิดจากแรงขับข้างในแทนที่จะเป็นการนั่งลงพิจารณาอย่างมีเหตุผล

และนั่นแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่เคยเป็นอิสระจากความคิดของตนเองเลย ิดของตนเองเลย

 

Reviews

Comment as: