ภาษากับความคิดสร้างสรรค์-2

By : Anusorn Tipayanon


ภาษาเป็นสิ่งที่เราใช้สื่อสารซึ่งกันและกัน ความจริงข้อนี้ดูจะเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับและยากจะปฏิเสธ การมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นกระทำผ่านภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน หรือแม้แต่ภาษากาย (Body Language) แต่อำนาจของภาษาที่มีต่อมนุษย์เรานั้น จำกัดอยู่แค่การสื่อสารกระนั้นหรือ ในบทความตอนก่อน เราได้เห็นอำนาจของภาษาในการกำหนดทิศทาง ในการกำหนดความเป็นไปของเพศสภาพ (Gender) และดูเหมือนว่ายิ่งสืบค้นมากขึ้นเพียงใด เรายิ่งพบอำนาจของภาษาที่ส่งอิทธิพลต่อด้านอื่นๆ ของเรามากขึ้นทุกที
.
คีธ เชน (Keith Chen) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย UCLA ในสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยพบว่า ภาษานั้นส่งผลกระทบต่อนิสัยแห่งการอดออมของเรา เขายกตัวอย่างประเทศที่เจริญมากๆ อย่างกลุ่ม OECD หรือกลุ่ม Organization of Economics Co-operation and Development ที่มีทุกอย่างคล้ายคลึงกัน อาทิ มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เชื่อมั่นในการค้าเสรี เชื่อมั่นในความเท่าเทียมทางการค้า แต่ในประเทศกลุ่มนี้ มีทั้งความมั่งคั่งและระบบอุตสาหกรรมอันแข็งแกร่ง กลับมีอัตราการออมของผู้คนแตกต่างกันอย่างมากมาย
.
อะไรหรือคือปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการออม คีธ เชน บอกว่า มันคือ ภาษา!!
.
คีธ เชน ยกตัวอย่างภาษาที่แสดงออกถึงกาลเวลาหรือช่วงของเวลาอันแน่นอน เช่นภาษาอังกฤษ ถ้าเราพูดว่า “ฝนตกเมื่อวานนี้” เราจะใช้คำว่า “It rained yesterday” ถ้าเราพูดว่า “ฝนกำลังตกตอนนี้” เราจะใช้คำว่า “It is raining now” และถ้าเราต้องการพูดว่า “ฝนจะตกพรุ่งนี้” เราจะใช้ถ้อยคำว่า “It will rain tomorrow” ในภาษาอังกฤษ ระยะเวลามีจุดแบ่งชัดเจน เราจะเห็นอนาคตอยู่ไม่ไกลจากปัจจุบัน
.
แต่ในภาษาอีกกลุ่ม การแบ่งแยกระยะเวลากลับคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน อาทิเช่น ในภาษาจีน หรือภาษาของยุโรปเหนือ เช่น ภาษาสวีดิชของชนชาติสวีเดน หรือนอร์เวย์ หรือลุกเซมเบิร์ก ภาษาที่มีความคลุมเคลือจนไม่เห็นอนาคตชัดเจนนั้น คีธ เชน เรียกมันว่าภาษากลุ่มอนาคตคลุมเครือ หรือ Futureless Language และเขาพบว่าในชนชาติที่มองไม่เห็นอนาคตแบบชัดเจนในตัวภาษานั้นมีการออมที่สูงกว่าพวกที่ใช้ภาษาที่เห็นช่วงเวลาอนาคตชัดเจนอย่างชาวอังกฤษหรือชาวอเมริกันกว่าเท่าตัว

สิ่งที่ คีธ เชน นำเสนอนั้นเป็นสมมุติฐานทางภาษาศาสตร์ที่มีชื่อขานเฉพาะว่าสมมุติฐานแบบ Whorfianism ซึ่งมาจากชื่อของนักภาษาศาสตร์นาม เบนยามิน ลี ฮอร์ฟ (Benjamin Lee Whorf) ที่ตั้งสมมุติฐานว่าภาษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมนุษย์เรา สมมุติฐานดังกล่าวนี้ มีทั้งในระดับลึกซึ้งและระดับทั่วไป ในระดับลึกซึ้งนั้นเชื่อว่าภาษากำหนดแทบทุกพฤติกรรมในชีวิตเรา ในขณะที่ในระดับทั่วไปนั้น มีความเชื่อว่าภาษาเพียงแต่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราเท่านั้นเอง เบนยามิน ตั้งชื่อสมมุติฐานของเขาว่าสัมพันธภาพทางภาษาศาสตร์ (Linguistic Relativity) เพื่อให้พ้องเคียงกับทฤษฏีสัมพันธภาพทางฟิสิกส์ (Physical Relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ เบนยามิน พัฒนาสมมุติฐานของเขา ในช่วงทศวรรษที่ 30 หรือ 1930 มีประเด็นที่น่าสนใจจำนวนมาก แต่น่าเสียดายว่าหลังการเสียชีวิตของเขาในปี 1941 ข้อโต้แย้งทั้งจากนักมานุษยวิทยา นักภาษาศาสตร์ และนักสังคมวิทยา ทำให้ทฤษฏีของเขาได้รับการละเลยและมองว่าขาดซึ่งข้อมูลที่สนับสนุนในปริมาณมากพอ โชคดีที่ในยุคปัจจุบัน กระบวนการเก็บข้อมูลมีความสะดวกมากขึ้น การค้นพบความสัมพันธ์ใหม่ๆ ระหว่างภาษาและพฤติกรรมมนุษย์จึงถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา

สิ่งที่น่าสนใจในงานของ คีธ คือเขาได้สำรวจถึงการใช้ถ้อยคำที่ข้องเกี่ยวกับอนาคตผ่านทางการพยากรณ์อากาศในวัฒนธรรมต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ในสังคมที่ใช้คำว่า “จะ” หรือ “พรุ่งนี้” ในการทักทำนายการพยากรณ์อากาศมากเท่าใด ผู้คนก็จะอดออมเงินน้อยลงเท่านั้น ในภาษาของชาวอาเซอไบจันที่ใช้ คำว่า-จะ-หรือ-อาจ-อย่างฟุ่มเฟือย ผู้คนมีการออมน้อยกว่าภาษาของชาวสวีเดนที่ใช้ คำว่า-จะ-หรือ-อาจ น้อยมาก ชาวสวีเดนก็เป็นนักออมที่ดีตามภาพตารางแผนภูมินั่นเอง

เงินตัวยงตามภาพในตาราง

 

Reviews

Comment as: