SKILL SHARE (ตอนจบ)

By : Jakkrit Siririn


เมื่อเร็วๆ นี้ มีเว็บไซต์หนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงในแวดวงการศึกษาระดับสากล นั่นคือ SKILL SHARE เจ้าของสโลแกน SHARE YOUR KNOWLEDGE

ชื่อก็บอกยี่ห้ออยู่แล้ว ว่า SKILL SHARE หรือ “การแบ่งปันทักษะ” ซึ่งถูกต้องตรงเผงกับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ที่พูดกันมากในเรื่อง “ทักษะ”

ส่วนสโลแกน SHARE YOUR KNOWLEDGE ก็แปลง่ายแสนง่ายได้ว่า “มาแบ่งปันความรู้กันเถอะ” ดังนั้น SKILL SHARE ก็คือ “การแบ่งปันความรู้และทักษะ” นั่นเอง

แฟนพันธุ์แท้เว็บบล็อก NASCENT OBJECTS ที่สนใจแนวคิด SKILL SHARE ตามคลิกเข้าไปได้ที่ www.skillshare.com ได้เลยนะครับ…

หลักการของ SKILL SHARE ก็เหมือนกับ ชื่อของมันเป๊ะๆ หรือเป็นเช่นสโลแกน SHARE YOUR KNOWLEDGE ของมัน นั่นก็คือ “การแบ่งปันความรู้และทักษะ” จริงแท้แน่นอน

ดังนั้น “การแบ่งปันความรู้และทักษะ” ในยุค “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ก็ต้องใช้ ICT และไม่ใช่แค่ใช้ ICT ส่งเดช แต่เจาะจงใช้ ICT ร่วมกับ “ทักษะ”

ในเว็บไซต์ www.skillshare.com มี “ลูกศิษย์มากมาย” ที่สนใจแวะเข้ามา “ลงทะเบียนเรียน” แบบ “ฟรีๆ” กับทาง SKILL SHARE เพื่อขอรับ “การแบ่งปันทักษะและความรู้”

ซึ่งก็เหมือนกับธรรมชาติของสถาบันการศึกษาทั่วไป ที่ “ลูกศิษย์” ย่อมมีจำนวนมากกว่า “อาจารย์” แต่ที่ SKILL SHARE การจะมาเป็นอาจารย์ที่นั่น ไม่ใช่เรื่องง่าย

เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนด้วยการใช้ ICT ซึ่งในที่นี้ก็คือ “การเรียนการสอนระบบทางไกล” ผ่าน Video นั่นทำให้ SKILL SHARE มีเวลาคัดกรอง “คุณภาพอาจารย์”

ไม่เหมือนกับ “การเรียนการสอนรูปแบบศตวรรษที่ 20” ที่ปล่อยปละละเลย “วิธีการสอน” ของบรรดาคณาจารย์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดประเด็นปัญหา “คุณภาพอาจารย์” ในที่สุด

เพราะไม่มีใครตามไปควบคุม “วิธีการสอน” หรือตามไปคัดกรอง “คุณภาพอาจารย์” ถึงในห้องเรียน ทำให้ยากที่จะรักษามาตรฐานการเรียนการสอนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

แต่สำหรับ SKILL SHARE ซึ่งผมอยากเรียกว่า เป็น “สถาบันการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ที่นอกจากจะใช้ ICT อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ยังให้น้ำหนักกับ “ทักษะ” ค่อนข้างมาก

ยิ่งหากตามเข้าไปดู Classes หรือ “ห้องเรียน” ในระดับ Top Categories แล้ว ก็ยิ่งจะพบว่า Course หรือ “หลักสูตร” ต่างๆ ล้วนต้องอาศัย “ทักษะ” ของ “อาจารย์” แทบทั้งสิ้น…

โดย “ห้องเรียน” ระดับ TOP 5 หรือ Top Categories ของ SKILL SHARE นั้น ประกอบไปด้วย Design หรือ “การออกแบบ” Photography หรือ “การถ่ายภาพ”

Entrepreneurship หรือ “การเป็นผู้ประกอบการ” DIY (ย่อมาจาก Do It Yourself) หรือ “หนูทำได้” Culinary หรือ “การทำครัว” และ Gaming หรือ “คนรักเกม”

ลักษณะการจัดการเรียนการสอนของ SKILL SHARE คือการนำ GURU หรือ “ผู้รู้จริง” ในแต่ละสาขาที่เรียกกันว่า “มืออาชีพ” มาเป็น “อาจารย์” สอนในรายวิชาต่างๆ

90% ของการเรียนการสอน ใช้ ICT อย่างเต็มรูปแบบด้วยการสอนผ่าน Video Conference หรือ “การประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ” ทั้งแบบสด และแบบบันทึกเทป

ส่วนอีก 10% เป็นการเปิดโอกาสให้ “อาจารย์” และ “ลูกศิษย์” ได้มาพบปะสังสรรค์กัน โดย “มีข้อแม้” ว่าต้องอิงจากฐานวิชาการคือ “หลักสูตร” ไม่ใช่แบบ “ส่วนตัว”

ปัจจุบัน SKILL SHARE คือดาวรุ่งพุ่งแรง ในโลกออนไลน์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการ “การศึกษาระดับสากล” หรือในหมู่ผู้นิยมชมชอบ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21”

นอกจากองค์ประกอบทั้งหมดนี้ ผมคิดว่า สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ www.skillshare.com มีลักษณะเป็น “สถาบันการศึกษาในศตวรรษที่ 21” นอกจาก ICT และ “ทักษะ” แล้ว

ผมคิดว่า สิ่งที่ทำให้ SKILL SHARE กำลังได้รับการกล่าวขวัญถึงในหมู่สื่อสารมวลชนสาย ICT ในสหรัฐอเมริกา ก็คือปัจจัยเรื่องรสนิยมที่เปลี่ยนไปของ “คนรุ่นใหม่” ครับ…

เพราะ “คนรุ่นใหม่” หรือ “คนรุ่นศตวรรษที่ 21” นั้น “ไม่บ้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย” และ “ไม่บ้าปริญญา” หรือ “บ้าประกาศนียบัตร” เหมือน “คนรุ่นศตวรรษที่ 20” นั่นเองครับ!

 

Reviews

Comment as: