การกลับมาของ Twitter (ตอนจบ)

By : Jakkrit Siririn


เราได้ทราบกันไปแล้วว่า ทำไม Twitter ถึงถูกแซงไปชนิดที่ไม่เห็นฝุ่น แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ Twitter กระเตี้องขึ้นได้ ติดตามได้ในตอบจบบทความนี้นะครับ
.
Twitter มีการพัฒนาระบบสูงมากขึ้น โดยสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าผ่านพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือได้อย่างอัตโนมัติ ไม่ว่าลูกค้าจะใช้โทรศัพท์มือถือแบบ iOS, Android หรือ Windows Phone อย่างที่ทราบกันไปแล้ว
.
นอกจาก Twitter จะป้องกันตัวเองในการเข้าไปให้บริการในต่างประเทศแล้ว ฟังก์ชั่น “withheld” ยังมีระบบคัดกรองสื่อลามก ความรุนแรง หรือเทคนิคทางการแพทย์ที่ละเมิดจรรยาบรรณอีกด้วย
.
จะเห็นได้ว่า ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดได้ชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากของ Twitter ในการจัดการกับแพลตฟอร์มจำนวนมหาศาล แต่ Twitter ก็ถือว่า สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จำเป็น และสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจของเขา
.
เหนือไปกว่านั้น นอกจากประเด็นของการคัดกรองสื่อลามก ความรุนแรง หรือเทคนิคทางการแพทย์ที่ละเมิดจรรยาบรรณแล้ว Twitter ยังมีนโยบายในการบริหารความเสี่ยง โดยได้จัดวางภารกิจทางศีลธรรมของพนักงาน Twitter กับผู้ใช้ของตนอย่างเข้มงวด ผ่านการเก็บรวบรวมคำหยาบต่างๆ อันแสดงถึงลักษณะนิสัยของผู้ใช้งาน ผ่านนโยบายการรักษาความลับและการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอีกด้วย
.
เพราะนโยบายหลักของ Twitter คือ “คุณภาพของความละเอียดอ่อน” นั่นเอง
.
ในส่วนของเครื่องไม้เครื่องมือหลักของ Twitter นั้น ก็เป็นเรื่องที่รู้กันในหมู่ผู้ใช้ Twitter กันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าผู้ใช้งานจะเป็น Nobody หรือ Somebody
.
และไม่ว่าจะเป็น “Favorited” หรือ “fav’d” ความสำคัญที่ได้รับการจับตามองเสมอในหมู่ผู้ใช้งาน Twitter ก็คือ Retweeted ที่สุดแสนจะคุ้มค่าและกว้างไกล นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานไปยังภาพ Avatar ได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย
.
ทั้งหมดนี้คือความเป็นอัจฉริยะของ Twitter ที่ผู้ก่อตั้งได้ตั้งปณิธานไว้ถึงการเข้าถึงแรงกระตุ้นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นั่นคือ “ประกาศความปรารถนาของมนุษย์ที่ต้องการจะสื่อสารกับคนอื่นๆ”
.
ในช่วงก่อตั้งของ Twitter เมื่อ ค.ศ. 2006 ขณะนั้น เป็นกระแสบูมของ Blog ที่กำลังมีอิทธิพลต่อการกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งของธุรกิจดอทคอม กระทั่งจะมองย้อนไปถึงช่วงเริ่มต้นของ Internet ในต้นทศวรรษที่ 1990 ก็ตาม
.
ในตอนนั้น ผู้ก่อตั้ง Twitter ได้มองเห็นถึงจุดอ่อนของ Blog ที่แม้ว่าในช่วงต่อมา มีความพยายามสร้าง Microblogging ขึ้นมารองรับบริการ ทว่า ในห้วงเวลานั้น ได้เกิดเครื่องมือสื่อสารซึ่งกำลังทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ในวันนี้ นั่นก็คือ Smart Phone
.
Twitter จึงมองเห็นช่องว่างทางธุรกิจที่สามารถแทรกตัวเข้าไปได้ เพราะไม่ต้องยึดติดกับ Desktop Computer ไม่ว่าจะเป็น Personnel Computer หรือ IBM PC Compatible หรือ MacIntosh ก็ตาม
.
เพราะเมื่อ Twitter เกาะติดไปกับโทรศัพท์มือถือของทุกคนได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นเจ้านกน้อย Bluebird ก็สามารถโบยบินไปได้อย่างอิสระอย่างทุกวันนี้
.
Twitter นั้น เริ่มต้นด้วยรูปแบบของกล่องข้อความเพียงกล่องเดียว กับช่องพิมพ์ตัวอักษรไม่เกิน 140 ตัว ตราบจนปัจจุบัน ผู้ก่อตั้ง Twitter ได้รับการยอมรับแล้วว่า เขาได้ส่งเสริมให้ผู้คนเชื่อมต่อกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่แพ้คู่แข่งทางการค้าของเขา นั่นก็คือ Facebook!!
.
ใครจะรู้ว่า… ทุกวันนี้จากคู่แข่ง กลายมาเป็นเพื่อนร่วมทาง และเป็นคู่หูกันในที่สุด
.
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของ Twitter จนถึงขณะนี้ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นแอปพลิเคชัน ซอฟท์แวร์ที่ทรงประสิทธิภาพ และทรงอิทธิพลในโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่น้อยไปกว่า Facebook และ และทั้ง Facebook และ Twitter ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกไปแล้ว
.
หากพิจารณาถึงปรากฏการณ์อาหรับสปริง จะเห็นได้ว่า Twitter และ Facebook ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองและความมั่นคง นอกจากบทบาททางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
.
จากวิวัฒนาการดั้งเดิมของ Twitter จากแนวคิดหลักดั้งเดิมของการ Tweeted อักษรจำนวน 140 ตัว มันได้กลายเป็นแรงดึงดูดเพื่อการ Tweeting ที่สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ร่วมสมัยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
ที่สำคัญ Twitter ได้สถาปนาตัวเองขึ้นเป็น overhyped และ overvalued ของโลก ICT ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบสนองความต้องการอย่างถึงที่สุดของผู้ใช้งาน
.
ทุกวันนี้ Twitter ได้รุกคืบเข้าไปอยู่ในระดับของ “การปฏิวัติวัฒนธรรม” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว!
.
ฟันเฟืองภายในตัวเจ้านกน้อย Bluebird หรือเครื่องจักรทั้งหลายของ Twitter เป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ใช้งานได้ทำความเข้าใจถึงวิธีการและแนวความคิดที่เรียบง่าย เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารของผู้คนนับล้าน
.
ดังปณิธานของผู้ก่อตั้ง Twitter คือ Jack Dorsey อัจฉริยะหนุ่มใหญ่วัย 42 ผู้เป็นมหาเศรษฐี ICT วันนี้ ที่กล่าวเอาไว้ว่า Twitter คือ “การประกาศความปรารถนาของมนุษย์ที่ต้องการจะสื่อสารกับคนอื่นๆ” นั่นเองครับ

 

Reviews

Comment as: