VAR=ความยุติธรรม

By : Jakkrit Siririn


ใครที่เป็นคอบอลในระดับแฟนพันธุ์แท้ คงรู้สึกหงุดหงิดใจกับการตัดสินของกรรมการในบางแมทช์ ยิ่งถ้าเป็นคนที่รักความยุติธรรม อาจถึงกับทนไม่ได้กับดุลยพินิจของกรรมการบางคน ยังไม่ต้องพูดถึงแฟนบอลระดับสตั๊ดติดปลายนวม หรือบรรดานักพนันทั้งหลาย ที่มักระเบิดอารมณ์กับลีลาของกรรมการในบางเกม

เพราะการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลที่ใช้ดุลยพินิจของมนุษย์นั้น แน่นอนว่า แม้จะมีกฎ กติกา ซึ่งได้ประกาศออกไปเป็นที่เข้าใจกันทั่วโลกรองรับ ทว่า ทุกกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ และแม้กระทั่งกฎหมาย ยังมีช่องว่างให้ปัจจัยต่างๆ สอดแทรกเข้าไป ยังไม่นับช่องโหว่ของข้อกฎหมาย ที่ต้องอาศัยการตีความตามมา ฯลฯ

จะว่าไป ช่องโหว่ของการตัดสินเกมฟุตบอล ก็เหมือนกับ กฎ กติกา หลายอย่างในหลายวงการ เพราะในบางครั้งรายละเอียดหรือช่องว่างเพียงเล็กน้อย กลับถูกตีความหรือใช้ดุลยพินิจ ตัดสินเรื่องราวไปคนละทิศคนละทาง จากหน้ามือเป็นหลังมือ จากผิดเป็นถูก

ปัญหาการตัดสินฟุตบอลในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของช่องว่างทางกติกา ที่ไม่สามารถชี้ชัดหรือตีความได้อย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ในวินาทีชี้เป็นชี้ตายในสนาม จึงต้องอาศัยดุลยพินิจของกรรมการในสนามเป็นผู้ตัดสินคดีความในพื้นที่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น https://www.acheterviagrafr24.com/ กรุณาอย่าถามถึงความยุติธรรมที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่พบบ่อยระหว่างเกมการแข่งขันฟุตบอล ที่เป็นปัญหาคาบลูกคาบดอก หรือถ้าเป็นภาษาลูกหนังขนานแท้ก็คงต้องเปรียบเทียบกับลูกกึ่งยิงกึ่งผ่าน ในบรรดาปัญหาการตัดสินฟุตบอลที่ฉวยใช้ช่องโหว่ของกฎกติกา มาอยู่ที่การตัดสินใจหรือดุลยพินิจของผู้ตัดสิน ก็มีตั้งแต่ล้ำหน้า เตะมุม ฟาวล์ เหลือง แดง เข้า-ไม่เข้า

และแล้ว ในปี ค.ศ. 2014 การแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิล FIFA หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ก็อดรนทนต่อคำเรียกร้องอย่างรุนแรง แปลเป็นไทยก็คือ คำด่า ไม่ไหวอีกต่อไป จึงได้ทำการ Start-up หรือริเริ่มใช้นวัตกรรม Goal-lineหรือการใช้เทคโนโลยีกล้องหลายตัวที่ติดตั้งบริเวณประตูฟุตบอล

นอกจากกล้องที่ใช้จับภาพแล้ว ยังมีเทคโนโลยีเซนเซอร์เอาไว้คอยดักความเคลื่อนไหวของลูกฟุตบอล ว่าข้ามเส้นประตูในขอบเขตที่กำหนดหรือไม่ อย่างไรก็ดี แม้ว่า Goal-line จะมีประสิทธิภาพเพียงไร ธิภาพเพียงไร ript>

 

Reviews

Comment as: