Non-Cognitive Skills ทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 (ตอนจบ)

By : Jakkrit Siririn


บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ ตัวแปรสำคัญของ Non-Cognitive Skills
.

จากงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และเศรษฐศาสตร์การศึกษา สามชิ้นซึ่งได้แก่ งานวิจัยเรื่อง The Effects of Cognitive and Non-cognitive Abilities on Labor Market Outcomes and Social Behavior (2006) ของ James J. Heckman งานวิจัยเรื่อง Non-Cognitive Skills and Personality Traits: Labour Market Relevance and Their Development in Education & Training Systems ของ Giorgio Brunello และ Martin Schlotter (2011) และงานวิจัยของจงรักษ์ หงษ์งาม เรื่อง Effects of Cognitive Skill and Non-Cognitive Skills on Earning Outcomes: A Case of Kornkaen Province of Thailand จะเห็นได้ว่าขอบเขตของการวิจัยเป็นการวิจัยในขอบข่ายงานวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และเศรษฐศาสตร์การศึกษา
.

ส่วนในขอบเขตของการวิจัยทางด้านการบริหารทางการศึกษา ก็มีนักวิชาการหลายท่านที่พยายามนำตัวแปร Non-Cognitive Skills หรือทักษะทางพฤติกรรม เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการพยากรณ์ในด้านการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทางการศึกษา โดยเฉพาะงานวิจัยเรื่อง Next-generation Non-cognitive Assessment is Needed Now (2016) ของ Jonathan Martin ที่พัฒนาขึ้นจาก Big Five personality traits หรือ บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ โดยต่อยอดจากงานวิจัยเรื่อง The Effects of Cognitive and Non-cognitive Abilities on Labor Market Outcomes and Social Behavior (2006) ของ James J. Heckman มากำหนดเป็นปัจจัยภายในตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills ได้แก่ 1.Extraversion (ความเชื่อมั่น) 2.Agreeableness (การเข้าสังคม) 3.Conscientiousness (ความรอบคอบ) 4.Emotional Stability (ความมั่นคงทางอารมณ์) และ 5.Openness (การเปิดใจกว้าง) โดยในประเด็นด้านความเชื่อมั่น (Extraversion) เน้นที่การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก การให้น้ำหนักเรื่องการสร้างภาวะผู้นำ
.

ของนักเรียน การส่งเสริมการสร้างความเป็นมิตร การสนับสนุนการทำกิจกรรมกับชุมชนและสังคม, ด้านการเข้าสังคม (Agreeableness) เน้นการทำงานเป็นทีม ความซื่อสัตย์ของสมาชิกในทีม การสร้างความเชื่อถือ ศรัทธา และการยอมรับของชุมชนและสังคม, ด้านความรอบคอบ (Conscientiousness) เน้นการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์กรและขับเคลื่อนอย่างรัดกุม การรับรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย, ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (Emotional Stability) เน้นการควบคุมสภาวะอารมณ์ตามสถานการณ์เฉพาะหน้า การรับรู้และความเข้าใจในเหตุการณ์ การปฏิบัติงานภายใต้ความกดดัน, ด้านการเปิดใจกว้าง (Openness) เน้นจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเป็นนวัตกร การตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างตนเองและผู้อื่น การพัฒนาความคิดในแง่บวก ฯลฯ (จักรกฤษณ์ สิริริน. 2559)
.

Non-Cognitive Skills ทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21
.
จากงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และเศรษฐศาสตร์การศึกษา ที่ได้มีการนำตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับรายได้หลังจบการศึกษาเพื่อการประมาณการผลลัพธ์ของการเรียนการสอน และงานวิจัยทางด้านการบริหารทางการศึกษา ที่ได้มีการกำหนดปัจจัยในการพยากรณ์จำนวน 5 องค์ประกอบ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียนบ้านรถไฟ ขณะเดียวกัน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง Non-Cognitive Skills หรือทักษะทางพฤติกรรม ในบทความเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน (2555) รวมทั้งวิจารณ์ พานิช ผู้บุกเบิกประเด็นทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 ได้ให้คำนิยามของ Non-Cognitive Skills ว่าเป็นลักษณะนิสัย ในบทความเรื่องความมุมานะ ความใฝ่รู้ และพลังแฝงของลักษณะนิสัย (2557) โดยทั้งสองท่านได้เชื่อมโยง รูปแบบการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มีการพูดถึงการพัฒนาทักษะต่างๆ ของผู้เรียน กับ Non-Cognitive Skills หรือทักษะทางพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง ทักษะทางอารมณ์ ทักษะในการเข้าสังคม ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะในการเข้าใจผู้อื่น ทักษะการมองโลกในแง่บวก ฯลฯ โดยกล่าวได้ว่า Non-Cognitive หมายถึงการเรียนรู้ด้านจิตใจ หรือคุณธรรม
.

การสังเคราะห์ผลการวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน และเศรษฐศาสตร์การศึกษา คือเรื่อง The Effects of Cognitive and Non-cognitive Abilities on Labor Market Outcomes and Social Behavior (2006) ของ James J. Heckman เรื่อง Non-Cognitive Skills and Personality Traits: Labour Market Relevance and Their Development in Education & Training Systems ของ Giorgio Brunello และ Martin Schlotter (2011) และเรื่อง Effects of Cognitive Skill and Non-Cognitive Skills on Earning Outcomes: A Case of Kornkaen Province of Thailand ของจงรักษ์ หงษ์งาม อีกทั้งหากนำงานวิจัยเรื่อง Next-generation Non-cognitive Assessment is Needed Now (2016) ของ Jonathan Martin อันได้แก่ Extraversion (ความเชื่อมั่น) Agreeableness (การเข้าสังคม) Conscientiousness (ความรอบคอบ) Emotional Stability (ความมั่นคงทางอารมณ์) และ Openness (การเปิดใจกว้าง) มาพิจารณา ก็สามารถกล่าวได้ว่าควรที่การวิจัยทางด้านการบริหารทางการศึกษาจะนำตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills ซึ่งได้แก่ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับ Non-Cognitive Skills หรือทักษะทางพฤติกรรม คือปัจจัยบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบในตัวแปรทักษะทางพฤติกรรม หรือ Non-Cognitive Skills ของ Jonathan Martin มาใช้เป็นปัจจัยหลักในการพยากรณ์ในด้านการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทางการศึกษาได้ต่อไป
.

 

Reviews

Comment as: