Kamolkarn Kosolkarn

TREND TAB

กมลกานต์ โกศลกาญจน์ นักเขียนอิสระที่สนใจเรื่องงานออกแบบ สังคม และวัฒนธรรม ชื่นชอบการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะอยากเรียนรู้ในความแตกต่างที่หลากหลายของโลกใบนี้

 

Blogs

คนรุ่นใหม่กับไลฟ์สไตล์ขยะเป็นศูนย์

30/09/2017

เมื่อพูดถึงคำว่า “Zero waste lifestyle” หลายคนอาจนึกถึงความเคลื่อนไหวยุคฮิปปี้ในช่วงต้นทศวรรษ 1960แต่ในวันนี้เทรนด์นี้ได้กลับมาฮิตในหมู่คนรุ่นใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะเหล่าวัยรุ่นในยุโรปและเอเชีย โดยมีเน็ตไอดอลหรือ influencers ในโลกออนไลน์เป็นผู้ปลุกกระแสนี้ให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง ผ่านการสร้างสรรค์เนื้อหาในบล็อกต่างๆ สร้างชุมชนหรือคอมมูนิตี้ของคนที่มีความสนใจเหมือนกัน ทั้งยังเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นการใช้ชีวิตได้จริง ด้วยการแชร์เรื่องราวในแต่ละวันหรือวิดีโอในโซเชียล มีเดีย หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระแสไลฟ์สไตล์ “ขยะเป็นศูนย์” นี้ มีที่มาจากขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ในทุกการใช้ชีวิต ตั้งแต่ตื่น เดินทาง กินอาหาร ทั้งขนมเครื่องดื่มก็ล้วนมาพร้อมกับบรรจุภัณฑ์ที่จะกลายเป็นขยะได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกหรือกระดาษล้วนต้องใช้เวลาในการย่อยสลายทั้งสิ้น – 300 ล้านตัน คือ ตัวเลขของจำนวนพลาสติกที่เกิดขึ้นในแต่ละปี โดยจำนวน 8 ล้านตันจะถูกทิ้งลงในทะเล – 40% ของบรรจุภัณฑ์ในตลาดทำมาจากวัสดุพลาสติก – 5 แสนล้าน คือ จำนวนของถุงพลาสติกที่ทั่วโลกใช้ในแต่ละปี โดยเฉลี่ยถุงแต่ละใบจะมีอายุการใช้งานเพียง 15% เท่านั้น เมื่อต้นตอของปัญหาอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ แบรนด์ต่างๆ ที่ตระหนักถึงปัญหาขยะล้นโลกก็เริ่มให้ความร่วมมือ เช่น แบรนด์ Noah แบรนด์เสื้อผ้าผู้ชายจากนิวยอร์ก ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงบรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากได้รับคำวิจารณ์อย่างรุนแรงถึงหีบห่อที่ดูธรรมดา ไม่เก๋สมกับเป็นแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ Noah ก็ตัดสินใจเขียนคำในหน้าเว็บไซต์ว่า […]

อนาคตใหม่ของระบบการศึกษา ตอนที่ 2

30/09/2017

จากบทความอนาคตใหม่ของระบบการศึกษาในตอนที่แล้ว จะได้เห็นถึงตัวอย่างของการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้จำกัดอยู่ในห้องเรียนหรือจำกัดตามเกณฑ์ผู้เรียนอย่างที่เราคุ้นเคย หรือบทบาทของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป มีฐานะเป็นการใช้เวลาว่าง หรือช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุดมากกว่าความจำเป็นต้องเรียนในแบบเดิม บทความตอนนี้เราจะพาไปดูตัวอย่างการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นถึงความหลากหลายของการเรียนรู้นิยามใหม่ในอนาคต Green-Learning Models หลายครั้งที่เริ่มเกิดการตั้งคำถามกับระบบการศึกษาในห้องเรียนแบบเดิม ทางเลือกใหม่จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ป่า ให้ต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวได้เป็นห้องเรียนของเด็กในเจนเนอเรชั่นต่อไป นักเขียนและนักเดินทางอย่างเบน โฟเกิล (Ben Fogle) ตั้งข้อสังเกตว่า เด็กๆ นั้นกลายเป็นหุ่นยนต์ที่อยู่ในกล่อง ซึ่งสร้างขึ้นจากระบบการศึกษาของภาครัฐ เขาเชื่อว่าการเรียนรู้นั้นไม่ได้เป็นรูปแบบนี้ แต่ควรเป็นการได้ผจญภัยในพื้นที่กลางแจ้ง เรียนรู้ร่วมกับธรรมชาติ เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากกว่าอุปกรณ์การเรียนการสอนรูปแบบไหนๆ ตัวอย่างจาก Deep Green Bush โรงเรียนทางเลือกในนิวซีแลนด์ ที่ให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่ภายนอก และนักเรียนใช้เวลาไปกับการเข้าป่าเรียนรู้สิ่งต่างๆ ท่ามกลางต้นเคารี (Kauri trees) ตกปลา ล่าสัตว์ ทำอาหารจากกองไฟ ผู้ก่อตั้งและครูใหญ่คือ โจอี้ มอนคราซ (Joey Moncarz) โรงเรียนที่ไม่มีรายวิชา ไม่มีการบ้าน ไม่มีการสอบ ไม่มีการกดดัน ขอเพียงให้โฟกัสที่การเรียนรู้เพื่อใช้ชีวิตอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับโรงเรียนอนุบาล Robin Hood Forest ในเยอรมนี ที่อนุญาตให้เด็ก […]