URBAN PLANNING เมืองใหม่
By : Pattarakorn Vorathanuch
“เมืองใหญ่เมืองนี้ เมืองดี ของคนเมืองเห็นความรุ่งเรื่อง เห็นคนเมือง ล้วนมากมาย”
ก่อนที่จะเข้าเรื่องของบทความนี้ มีใครรู้จัก หรือเคยได้ยิน บทเพลงนี้กันบ้างรึไม่ บทเพลงที่ถูกแต่งไว้ล่วงหน้ากว่า 30 ปี ที่บอกเล่า ถึงเรื่องราวความรุ่งเรืองเมืองใหม่ เมืองแห่งความศิวิไลซ์ ที่คนในยุคก่อน ๆ ได้วาดฝัน และได้จินตนาการเอาไว้ ท่ามกลางความเจริญด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ที่ร่ายล้อมไปด้วยประชากร หลากหลายเชื้อชาติ และทั้งหมดนี้ คือ
ศตวรรษเมือง คือคำนิยามใหม่ ของคน ยุคเมืองใหม่
จากข้อมูลของ UN-Habitat กล่าวไว้ว่า 54 % ของประชากรในโลกทั้งหมดขณะนี้ อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งถือว่า เกินกว่าครึ่งโลก นอกเหนือจากนี้ ยังมีการกล่าวคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอีกด้วยว่า ในปี ค ศ. 2050 ประชากรโลก ที่เป็นคนเมือง น่าจะมีเพิ่มมากขึนถึง 80 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และถ้าหากว่า เป็นดังที่ได้คาดการณ์ไว้อย่างนั้นจริง เมืองที่เราอาศัยอยู่ จะมีลักษณะอย่างไร และจะสามารถรองรับ กับผู้คนจำนวนมหาศาลนี้ได้แค่ไหน
การวางแผนผังเมือง เป็นเรื่องสำคัญแห่งอนาคต
จากการวิเคราะห์ เรื่องการเพิ่มของจำนวนของประชากรในอนาคตข้างหน้านี้ คาดว่ามี 3 เทรนด์หลักที่อาจเกี่ยวข้องโดยตรง
โดยเทรนด์แรกคือเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของระบบราง” หรือที่เรียกกันว่า รางเชื่อมเมือง ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อของการคมนาคมหลักในเมือง เกี่ยวข้องระหว่างกับ ระบบราง และระบบเรือ ที่จะสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนได้มากยิ่งขึ้น พร้อมยังจะช่วยส่งผลถึงเรื่องการบริการ หรือธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาตอบรับการพัฒนา ในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
เทรนด์ที่สองคือเรื่องของ “การพัฒนาไอซีที” หรือที่เรียกกันว่า ระบบการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเมืองอย่างกรุงเทพมหานคร ที่จะมีการเรียนรู้อย่างตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ทั้งการพัฒนาระบบอภิมหาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เรียกกันว่า (Big Data) และการพัฒนาของระบบของเครื่องมือสื่อสารในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์คนเมืองมากขึ้น
ส่วนเทรนด์สุดท้าย เป็นเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ “คนและงาน” ซึ่งเรื่องของคนนั้น เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของคนเมือง ที่กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชากรผู้สูงวัย และการย้ายถิ่นฐานของประชากรต่างด้าว ประชากรคนชนบทที่เข้ามาในเมือง รวมทั้งคนหลากหลายเชื้อชาติ อื่น ๆ
ส่วนเรื่องของการทำงาน คือเรื่องของการว่าจ้างงาน ในรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องตอบรับกับเทรนด์โลก อาทิเช่น คนรุ่นใหม่ อาจไม่ต้องทำงานในรูปแบบต้องเข้าออฟฟิศ เพราะสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และมีอิสระในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งอาจมีสถานที่ รองรับบริการการทำงาน ของคนรุ่นใหม่ ๆ
หรืออาจมีอาชีพใหม่ ที่สอดคล้อง และตอบรับกับเทรนด์โลกมากขึ้น อาทิเช่น ศิลปิน กูรู หรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ
แต่ท้ายสุดนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้เปิดเผยว่าว่าในอนาคต กรุงเทพมหานคร
กำลังมีแผนงานการพัฒนาเมืองใหม่ ที่จะสร้างย่านใหม่ ๆ เพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองเช่น
1.ย่านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ย่านที่มีประวัติและองค์ประกอบที่มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรม
2. ย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ ย่านที่เป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางธุรกิจการค้า ซึ่งมีความหนาแน่นของระบบกายภาพที่ ประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารที่มีความหลากหลาย
3.ย่านศูนย์ราชการย่านที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่โดยสถาบันของภาครัฐ มีวัตถุประสงค์ของหลัก
คือต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างประโยชน์อย่างสูงสุด ในการพัฒนาเมือง
4. ย่านที่อยู่อาศัย ย่านที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เพื่อการอยู่อาศัย มีรูปแบบที่มีความหลากหลาย ทั้งแนวราบและแนวตั้ง อาทิ ย่านที่อยู่อาศัยริมน้า
5. ย่านอุตสาหกรรมใหม่กลางเมือง ย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่ด้วยระบบอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ โดยมีแนวโน้มเป็นเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ด้วยระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการผลิตในอนาคต
6. ย่านโบฮีเมียน ย่านเก่าที่ได้รับการขับเคลื่อนใหม่ด้วยกลุ่มคนที่ทางานด้านศิลปะ การออกแบบ ดนตรี วรรณกรรม และการแสดง เพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์งาน สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิต
7. ย่านต่างชาติพลัดถิ่น ย่านเก่าที่เกิดจากการรวมตัวกันของประชากรต่างด้าวที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
8. ย่านอัจฉริยะ ย่านอัจฉริยะซึ่งขับเคลื่อนโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารบนโครงข่ายอิเลคโทรนิคส์ เป็นย่านที่มีขอบเขตของพื้นที่และประชากรที่คาดเคลื่อนจากพื้นที่ย่านในโลกแห่งความเป็นจริง
ทั้งหมดนี้ คือแผนการพัฒนาเมืองใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า เต็มไปด้วยความเจริญรุ่งเรือง และมีความศิวิไลซ์ อย่างแท้จริง…