DISASTER ในวิกฤตมีโอกาส

By : Pattarakorn Vorathanuch


ในอดีต อาจไม่มีข้อมูลที่สามารถยืนยัน หรือบอกเราได้อย่างแน่ชัดว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural  Disasters) นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ ที่ไหน และเมื่อเกิดขึ้นนั้น มนุษย์ในยุคก่อนๆ เตรียมพร้อม และตั้งรับได้อย่างไร

จวบจนถึงศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา พบข้อมูลว่า มีหลายประเทศจากทั่วโลกซึ่งต้องเคยประสบปัญหาและเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันนำมาซึ่งที่ความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งมีมากถึง 7009 ครั้ง และจากข้อมูลของเหตุการณ์ทั้งหมด อาจพอทำให้มนุษย์ได้ตระหนักว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเรื่องหนึ่ง ที่ควรต้องศึกษาและรับรู้ไว้เพื่อเตรียมการ เผื่อเมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มนุษย์จะพึงสามารถดูแล ช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นได้

ประเทศไทยกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ประเทศไทย ถือว่าเป็นประเทศที่ค่อนข้างโชคดี ที่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่ค่อยพบเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติเท่าไหร่นัก หากจะมีปัญหาจำนวนมากที่สุด คงเป็นเรื่องของอุทกภัย หรือปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุด โดยตั้งแต่ปี 2523 จนถึง 2553 เกิดปัญหาทั้งหมด 53 ครั้ง รองลงมาเป็นเรื่องของวาตภัย หรือพายุที่เกิดขึ้น 29 ครั้ง และถัดไปคือภัยแล้ง เกิดขึ้น 7 ครั้ง

ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่พบในประเทศไทย น่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวและการเกิด “สึนามิ” ในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรง มีการประเมินมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณกว่าพันล้านบาท

นอกจากนั้น ยังมีอีกเหตุการณ์หนึ่ง นั่นคือมหาอุทกภัย เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด ในรอบ 50 ปี ของประเทศไทย มีการประเมินมูลค่าความเสียหายสูงมากถึง 1.3 ล้านล้านบาท และมีผู้ที่ได้รับผลกระทบ ประมาณเกินกว่า 1 ล้านคนเลยทีเดียว

ขณะเดียวกัน การเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ก็ได้ปรากฏคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพบว่า เมื่อมีวิกฤต ก็ย่อมมีโอกาส และสำหรับคนกลุ่มนั้น นอกจากจะมองเห็นโอกาส และมองเห็นหนหาง ที่จะสามารรถรับมือ และหาทางป้องกัน แก้ไขแล้ว พวกเขายังมองเห็นโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น กลุ่มบริษัท แลนดี้โฮม (ประเทศไทย) จำกัด เป็นกลุ่มบริษัทหนึ่งที่ได้คิดค้นนวัตกรรมบ้านไม่กลัวน้ำ หรือบ้านที่สามารถป้องกันและรองรับ หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ภายใต้ชื่อ FR System ซึ่งเป็นระบบที่คิดค้นขึ้นเพื่อการจัดสรรระบบสุขาภิบาลและระบบสาธารณูปโภคภายในบ้าน และสิ่งต่างๆ ด้วยการวางแผนป้องกัน
- ระบบไฟฟ้าของบ้าน ที่ได้ทำการแยกส่วนของแต่ละชั้นออกจากกัน
- ระบบประปาและระบบถังบำบัด ออกแบบระบบการจัดการท่อน้ำเสีย ไม่ให้น้ำเสียจากถังบำบัดไหลย้อนเข้าสู่ตัวบ้าน
- การเลือกใช้วัสดุพิเศษของบ้านในบริเวณชั้น 1 ซึ่งเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง จึงคัดเลือกใช้วัสดุที่ลดความเสียหายอันเกิดจากภัยน้ำท่วม

หรืออีกกลุ่มบริษัทที่ชื่อสตีล โซลูชั่น จำกัด ที่คิดค้นนวัตกรรมการสร้างบ้านต้านภัยพิบัติจากการเกิดแผ่นดินไหวด้วยวัสดุเหล็กพิเศษ ที่ชื่อสตีลเฟรม มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รองแรงรับกระแทกจากแผ่นไหวได้ถึง 8.5 ริกเตอร์

นอกเหนือกว่านั้น ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มบริษัทตัวอย่าง เช่น กลุ่มบริษัท ไชโย โฮสติ้ง จำกัด ที่มองเห็นถึงอนาคตจากความเสียหายของระบบข้อมูลต่างๆ ในองค์กร จึงได้คิดค้นระบบวิธีป้องกันภัย ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติหรือภัยอื่นๆ เช่น อัคคีภัย โดยระบบป้องกันภัยพิเศษนี้ มีชื่อว่า  DR site (Site Disaster Recovery Hosting in Cloud ) คือ การกู้ข้อมูลจากภัยพิบัติ ซึ่งเป็นการสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ต่างสถานที่ ซึ่งห่างไกลจากสถานที่ๆ ใช้เก็บข้อมูล ณ ปัจจุบัน โดยเมื่อเกิดภัยพิบัติเกิดขึ้น ข้อมูลที่สำรองเหล่านั้นจะถูกดึงมาใช้งานได้ทันที

ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างเล็กๆ ของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบันในหลายๆ ประเทศ ต่างก็ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมองว่าเป็นวาระสำคัญ ซึ่งมีหน่วยงานหลายภาคส่วน
ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ต่างก็ให้ความร่วมมือและร่วมตระหนักถึงความสำคัญ ที่จะร่วมป้องกันและรับมือ หากเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต…

( ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม) จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน

1.ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากทางธรณีวิทยา เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว

2 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม

3 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศ เช่น พายุหิมะ พายุฝน หรือทอร์นาโด

4.ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อน เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า

https://www.youtube.com/watch?v=if74ILfTthg

 

Reviews

Comment as: