BLINK

เมื่อโลกร้อนรนเกินกว่าเราจะทนอยู่ (ตอนจบ

31/08/2017

(English) เป็นเวลานานหลายศตวรรษที่ความพยายามในการกำราบการระบาดของโรคมาลาเรีย หรือโรคที่เกิดจากไวรัสซิก้า (Zika) ที่มียุงเป็นพาหะได้รุดหน้าไป ทว่าหลังการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในโลก ได้ทำให้ยุงที่เคยแพร่หลายอยู่ในเขตร้อนชื้น สามารถขยายอาณาบริเวณในการมีชีวิตของมันได้ นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ยุงสามารถเติบโตเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ แล้วพร้อมวางไข่ได้เร็วขึ้นด้วย

บทสนทนาต่างสปีชี่ยส์

31/08/2017

(English) เราทุกคนล้วนมีสัตว์เลี้ยงหรือเคยมีสัตว์เลี้ยงและย่อมเคยสนทนากับสัตว์เลี้ยงอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต แน่นอนเรารู้ว่าสัตว์เลี้ยงไม่อาจเข้าใจในสิ่งที่เราสนทนาในเชิงภาษาได้ มันอาจเข้าใจเราจากท่าทาง การกอด การลูบหัวหรือการแสดงออกอื่นๆ เรารู้ว่ามันไม่อาจโต้ตอบเราในเชิงภาษาได้ แต่ทำไมเราจึงยังกระทำเช่นนั้น

เมื่อโลกร้อนรนเกินกว่าเราจะทนอยู่ (ตอนที่ 2)

30/07/2017

(English) มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ไม่อาจเก็บความร้อนไว้ในตัวได้ แม้ว่าเราจะต้องการความร้อนเพื่อการเผาผลาญพลังงานก็ตามที การระบายความร้อนของมนุษย์จะปรากฏให้เห็นหลังการออกกำลังกายด้วยการหอบออกมาหรือการต้องการน้ำดื่มอย่างกระทันหัน ดังนั้นหากโลกร้อนขึ้นจากอุณหภูมิปกติเพียง 7 องศาฟาเรนไฮต์ (ราว 13.89 องศาเซลเซียส) ร่างกายของมนุษย์ก็ยากจะทนทานอยู่ได้ โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่แถบเส้นศูนย์สูตร และสำหรับผู้คนทั่วโลกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไปถึง 12 องศา (ฟาเรนไฮต์) จะหมายถึงการสูญสิ้นของเผ่าพันธ์ุมนุษย์เลยทีเดียว

เมื่อโลกร้อนรนเกินกว่าเราจะทนอยู่ (ตอนที่ 1)

22/07/2017

(English) หากวิกฤตโลกร้อนที่ว่านี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริง เพราะเหตุใดเล่าเราถึงหาได้รู้สึกมีส่วนร่วมกับวิกฤตที่ว่าเลยแม้แต่น้อย อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเฉยเมยกับปัญหาสำคัญที่ว่านี้ได้ นักอุตุนิยมวิทยานาม เจมส์ ฮันเซ่น-James Hansen ได้ให้ความเห็นว่า ความเฉยเมยที่ว่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุสองประการ ประการแรกนั้นเกิดจากการที่นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องปัญหาโลกร้อนไม่สามารถค้นหาภาษาที่จะใช้สื่อสารกับผู้คนทั่วไปได้อย่างง่ายดายหรือราบรื่น ประการที่สองคือเหล่าบรรดาเทคโนแครต-Tecnocrat หรือผู้ที่ยึดมั่นในการใช้เทคนิควิทยาการเพื่อพัฒนาโลก ล้วนดาหน้าออกมาชี้แจงว่าปัญหาโลกร้อนเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมและจัดการได้และเสียงพูดของพวกเขานั้นดังและกินพื้นที่กว่าเสียงของผู้เตือนภัยจากวิกฤตนี้อย่างเทียบกันไม่ได้เลย

โรคภัยจากความยุ่งเหยิง

22/06/2017

(English) เราทุกคนล้วนเคยตกอยู่ในสภาวะวุ่นวาย ยุ่งเหยิง เราตื่นขึ้นในเช้าวันจันทร์พร้อมความรู้สึกว่ามีอะไรอีกมากมายที่ยังทำไม่เสร็จและไม่อยากไปปรากฏตัวที่ที่ทำงานเลย เราจบวันศุกร์ด้วยความโล่งอกก่อนจะพบว่าตื่นขึ้นในเช้าวันจันทร์ด้วยความรู้สึกเช่นเดิม นี่คืออาการแบบหนึ่ง หรืออีกอาการ เราปฏิเสธการสังสรรค์ การพบเจอคน ด้วยความรู้สึกว่าเรามีหลายสิ่งแบกบนบ่าที่ต้องจัดการ เราเก็บตัวเงียบ ตั้งมั่นกับการทำงานก่อนจะพบว่าเรายังมีบางสิ่งแบกบนบ่าเหมือนเดิม ไม่เบาบางลงเลย ทางแก้ของการตื่นให้เช้าขึ้น เพิ่มเวลาทำงานให้มากขึ้น ดูไม่ช่วยเหลืออะไร หนทางแก้ไขความยุ่งเหยิงอยู่ที่ไหนกัน?

หนึ่งกิจกรรมต่อวัน หนึ่งความสุขที่ยั่งยืน

22/06/2017

(English) “Being a giver rather than a taker” จงเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ ถ้อยคำอันเรียบง่ายนี้มีความหมายในการหาความสุขในแต่ละวัน การเสียสละเพื่อผู้อื่นคือการกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทน และการปรับใช้การกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทนด้วยการสร้างกิจกรรมที่ต่อเนื่องในแต่ละวัน คือ ยาที่ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า หดหู่ หรืออาการหม่นหมองได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง

ปรัชญาว่าด้วยการทอดทิ้งเวลาให้ผ่านไป

27/05/2017

(English) ราทุกคนล้วนต้องเคยประสบกับความทุกข์ใจอันเนื่องจากการที่รู้สึกว่า มีงานมากมายรอให้เราสะสางโดยที่เราไม่อาจรับมือมันได้… ในที่สุดเราก็พูดกับตัวเองว่า “ขอเวลาให้ฉันมากกว่านี้ได้ไหม” ทว่าในความเป็นจริง การเรียกร้องเวลาเพิ่มไม่ใช่ทางออกในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่เราควรทำคือ “ผลาญเวลาให้หมดไปกว่าที่เป็นมา”

เมื่อความกลัวไล่ล่าคุณ

22/05/2017

(English) การที่ความหวาดกลัวโจมตีเราได้ง่ายและอย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นเพราะความหวาดกลัวและความกลัวเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในสมอง เมื่อเราเกิดความกลัวขึ้นในยามใดมันจะขยายตัวไปเรื่อยดังลูกคลื่นที่ขยายตัวก่อนถึงฝั่ง ร่างกายเราจะสนองตอบต่อความกลัวเพื่อปกป้องและป้องกันเราจากอันตราย หัวใจของเราจะเต้นแรงขึ้น ลมหายใจของเราจะกระชั้นขึ้น กล้ามเนื้อของเราจะแข็งเกร็ง เพื่อเตรียมตัวต่อสู้ หรือตอบโต้ต่อสิ่งที่เราหวาดกลัวนั้นๆ กระบวนการของความกลัวในสมองของเรานั้นประกอบไปด้วยห้าขั้นตอนดังนี้

คนสวนแห่งความทรงจำ

19/05/2017

(English) ในอดีตมีความเชื่อว่าการฝึกฝนในสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น ภาษา ศิลปะ การแสดง หรือสิ่งต่างๆจะทำให้เรามีความชำนาญมากขึ้น ตามคำกล่าวที่ว่า มีแต่การฝึกฝนเถิดจะเกิดความเชี่ยวชาญ หรือ Practice makes Perfect แต่ปัจจุบันพบว่านอกจากการฝึกฝนแล้ว การกำจัดหรือลบเลือนสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในสมองก็ช่วยทำให้มีความชำนาญในสิ่งที่เราสนใจมากขึ้นด้วย

เมื่อโรงพยาบาลเปลี่ยนไป

19/05/2017

(English) ไม่มีใครปรารถนาการอยู่ในโรงพยาบาลให้นานเกินไปหรืออย่างน้อยก็ปรารถนาที่จะออกจากโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปัญหาที่ว่านี้ ทุกโรงพยาบาลรู้ดี ทุกผู้ป่วยรู้ดี ความรื่นรมย์เป็นสิ่งที่ขาดหายจากโรงพยาบาล ทว่าหลายโรงพยาบาลยอมปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปเช่นเดิม หากแต่โรงพยาบาลสายตาในรอตเตอร์ดัมหรือ Rotterdam Eye Hospital ไม่ยอมเป็นเช่นนั้น

กลลวงของสมอง (ตอนที่ 2)

28/03/2017

(English) การเกิดขึ้นของความทรงจำมนุษย์แต่แรกเริ่มนั้นมีที่มาที่ไปที่แตกต่างจากความทรงจำที่เราใช้ในปัจุบันมากมายนัก ความทรงจำในระบบสมองนั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เริ่มพัฒนาขึ้นในมนุษย์เมื่อหนึ่งล้านแปดแสนปีก่อนหรือในยุคหินใหม่ (Pleistocene) ก่อนจะหยุดการพัฒนาเมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว

กลลวงของสมอง (ตอนแรก)

27/03/2017

(English) มนุษย์เรามีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับสมองของตนเอง เช่นความเชื่อที่ว่าหากเราไม่ขบคิดอะไรเลยหรือนั่งอยู่เฉยๆ สมองจะตกอยู่ในสภาพพักผ่อน ทั้งที่ในความเป็นจริง สภาวะเช่นนั้นสมองของเรากลับอยู่ในสภาพที่ทำงานอย่างเต็มที่ หรือความเชื่อที่ว่าเมื่อเรามีอายุมากขึ้นสมองจะเริ่มเสื่อมลงและเราไม่สามารถทำอะไรที่หยุดยั้งหรือฟื้นฟูมันได้ ในความเป็นจริง สมองไม่เคยหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อมันต้องเผชิญกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยสมองนั้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้สามทาง

ตะวันออก-ตะวันตก เขาวงกตของความคิด (2)

24/02/2017

(English) ความแตกต่างระหว่างตะวันออกกับตะวันตก ยังปรากฏในวิธีการมองโลกด้วย ริชาร์ด นิสเบต (Richard Nisbett) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ทำการวิจัยพบว่า ยามจ้องมองสิ่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนหรือภาพถ่าย คนตะวันออกมักจะให้ค่ากับการจ้องมองฉากหลังหรือ Background มากกว่าคนตะวันตก ในขณะที่คนตะวันตกจะสนใจตำแหน่งสำคัญของภาพวาด หรือภาพเขียนเหล่านั้นแทน

ตะวันออก-ตะวันตก เขาวงกตของความคิด (1)

17/02/2017

(English) สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในแง่ของความคิดของมนุษย์คือ พื้นที่ ดินแดน เชื้อชาติ เพศสภาวะ นั้นมีผลต่อความคิดของเราหรือไม่ ชายคิดต่างจากหญิงไหม เด็กคิดต่างจากผู้ใหญ่หรือไม่ หรือ คนตะวันออกคิดต่างจากคนตะวันตกอย่างไร หรือในที่สุดแล้วไม่มีความคิดที่แตกต่างกันหรืออาจแตกต่างกันจนสุดขั้ว

นอนใครคิดว่าไม่สำคัญ?

16/01/2017

(English) มีใครไม่เคยหลับหลังอาหารกลางวันบ้างไหม แน่นอน พวกเราทุกคนล้วนเคยหลับหลังอาหารกลางวัน โดยเฉพาะในชั้นเรียนอนุบาลที่แทบทุกคนล้วนถูกบังคับให้นอน ทว่าพฤติกรรมที่ว่านี้จะลดน้อยถอยลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้นและมากขึ้น และมันแทบจะกลายเป็นเรื่องผิดปกติเมื่อถึงวัยทำงาน

Illusion of Thought

15/01/2017

(English) ปรากฏการณ์ที่เราไม่อาจทำใจเชื่อว่ามีกอริลลาปรากฏตนขึ้นท่ามกลางการทดลองที่ให้ผู้ทดลองส่งลูกบาสเก็ตบอลไปมา ว่าเป็นเพราะมนุษย์เราโดยทั่วไปไม่อาจทำใจยอมรับความหลงผิดในสิ่งที่ตนเองได้เชื่อไปแล้วล่วงหน้าถึงแม้จะมีหลักฐานยืนยันในภายหลังก็ตามที เขากล่าวว่ามนุษย์นั้นไม่ได้ตกหลุมภาพลวงตาเท่านั้น (Illusion Visual) แต่ยังตกหลุมอาการลวงใจหรือกลลวงทางความคิดที่เรียกว่า Illusion of Thought อีกด้วย

Thinking Fast, Thinking Slow-1

29/12/2016

(English) แนวคิดเรื่องความคิดและการตัดสินใจที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (Sudden Judgment) นั้น เป็นเพียงหนึ่งในความคิดที่เราใช้จัดการสิ่งต่างๆในโลก อันที่จริงมนุษย์มีความคิดในสองระบบที่ใช้คู่เคียงกันไป ความคิดหรือการกระทำอีกแบบหนึ่งนั้นเป็นความคิดหรือการกระทำที่ต้องใช้สมาธิและการจดจ่อ (Pay Attention) และไม่อาจใช้การตัดสินใจหรือการคิดหรือการกระทำแบบฉับพลันได้

จิตใต้สำนึกที่ปรับตัวพร้อม Adaptive Unconsciousness (ต่อ)

23/12/2016

(English) กระบวนการที่หลายสิ่งส่งผลต่อจิตใต้สำนึกและการกระทำหลายอย่างของเราจนทำให้เราแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัวหรือ Blink ถูกนำเสนอให้เห็นผ่านทางการทดลองของนักจิตวิทยานาม จอห์น บารจ์- John Bargh เขาทดลองเรื่องนี้ด้วยการลองเขียนถ้อยความจำนวนมากที่แอบแฝงสารทางภาษาบางอย่างไว้และให้ผู้ทดสอบทำการสร้างประโยคผ่านถ้อยคำเหล่านั้น สิ่งที่เขาพบน่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง

จิตใต้สำนึกที่ปรับตัวพร้อม (ตอนที่ 1) Adaptive Unconsciousness

30/11/2016

(English) เคยรู้สึกบ้างไหมว่ามีใครบางคนที่เราเพียงแค่ประสพพบหน้าเขา เรากลับรู้สึกต้องชะตาเป็นอย่างยิ่ง และมีใครหลายคนที่เพียงแค่การชำเลืองมองเพียงแวบเดียว เรากลับรู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจ หรือถึงขั้นชิงชัง… อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้นและอะไรคือสิ่งที่ปรากฏในภายหลังว่าความคาดคิดของเราล้วนเป็นจริง

ศาสตร์ว่าด้วยการเยียวยาตนเองของร่างกาย

26/11/2016

(English) รางวัลโนเบลประจำปี 2016 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตกเป็นของ ศาสตราจารย์ โยชิโนริ โอสุมิ- Yoshinori Ohsumi ด้วยหัวข้องานวิจัยด้าน Autophagy – ศาสตร์ว่าด้วยการเยียวยาตนเองของร่างกาย