The Unicorn Club (ตอนจบ)
By : Jakkrit Siririn
เมื่อ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ทำให้ Facebook ทะยานขึ้นเป็น เป็นหัวหน้ากลุ่ม หรือที่เรียกว่า Super-unicorn แล้ว คุณจะเห็นว่า รายชื่อองค์กรสมาชิกของ The Unicorn Club ส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยสักเท่าไหร่ เนื่องจากสังคมไทยเป็นประเทศที่ไม่ให้ความสำคัญกับ “ผู้สร้าง” หรือ “การสร้าง”
.
เพราะบ้านเราเป็นชนชาติ “ผู้ใช้” โดยผมไม่อยากใช้คำแรงๆ อย่างการที่ไทยเป็นสังคมของ “ผู้รับใช้” เพราะเรามีชื่อเสียงที่โดดเด่นในเรื่องของ “ธุรกิจบริการ” แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเช่นนั้น…
.
เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศจำนวนมาก โดยนัยก็คือได้รับการยอมรับจากชาติตะวันตกก็คือธุรกิจใน “ภาคบริการ” โดยเฉพาะ Section ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยว
.
ขณะที่ อย่างที่กล่าวไป ว่าชาติตะวันตก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการเป็น “ผู้สร้าง” ดังนั้น ธุรกิจใดที่มีลักษณะ Pilot หรือ “ผู้บุกเบิก” ถากถางเส้นทางเดินให้กับผู้คน จะได้รับการยกย่องเสมอ
.
เห็นได้จากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นการเก็งกำไรส่วนต่างจากการลงทุน ทว่า โดยภาพรวมแล้ว มักให้ความสำคัญกับ “ประโยชน์” หรือ Useful ที่ธุรกิจได้สร้างให้กับสังคม ที่ไม่ใช่เฉพาะในแง่ธุรกิจ หากแต่เป็น “ประโยชน์” ต่อวิถีชีวิตของผู้คน…
.
ในจุดนี้ ผมคิดว่าปณิธานของมันต่างจากแวดวงการเก็งกำไรของไทยอย่างสิ้นเชิงครับ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “ผลการประกอบ” แต่ให้ความสำคัญกับ “ผลประกอบการ”
.
ดังนั้น ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่รายชื่อสมาชิกของ The Unicorn Club มักจะไม่คุ้นหูคนไทยนัก
.
ที่คุ้นหูหน่อยสำหรับคนไทยในฐานะ “ผู้ใช้บริการ” ซึ่งเคยสัมผัสสินค้าและบริการของเขา นอกจาก Facebook แล้วก็มี อาทิ Youtube, Instagram, Twitter, Uber, Dropbox, Pinterest, Tumblr, LinkedIn, Evernote, Square, Groupon, Airbnb หรือ Zynga ราวๆ 14 บริษัทนี้ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งพูดตรงๆ ว่าบางตราสินค้า หลายคนไม่รู้จักมาก่อนเลย
.
และนอกเหนือจากนั้น ก็ล้วนเป็นอีก 25 Brand ที่ไกลตัวพี่ไทย ลองไล่รายชื่อดูก็ได้ รับรองว่าแทบไม่มีใครรู้จัก…
Workday, Service Now, Splunk, Palantr, Fire Eye, Yelp, Tableau Software, Palo Alto Networks, HomeAway, Hulu, RetailMeNot, Kayak, Rocket Fuel, Lending Club, Nicira, Marketo, Yammer, Meraki, Box, Waxe, Climate Corp, Fusion-io, Zulily, Gilt และ Fab.com
.
สำหรับองค์กรที่มีสิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของ The Unicorn Club จะต้องมีทรัพย์สิน “มากกว่า” 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไปแล้ว จะต้องเป็นกลุ่มนักธุรกิจหน้าใหม่ และที่สำคัญก็คือ ต้องเป็น “ผู้สร้าง” และที่สำคัญไปกว่านั้น ธุรกิจของเขาและเธอจะต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT (Information and Communication Technology) ด้วย
.
ดังนั้น เกณฑ์การคัดเลือกประเภทธุรกิจขององค์กรสมาชิกเพื่อเข้าสู่ The Unicorn Club จึงมีอยู่ 4 ประการ กล่าวคือ ต้องเป็น
1. Consumer e-commerce เป็นธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ด้านการให้บริการสินค้าอุปโภคและบริโภค
2. Consumer audience เป็นธุรกิจออนไลน์ที่บริการฟรีแก่ทุกคน-ทุกอย่าง โดยผู้ประกอบการต้องไปหารายได้จากการโฆษณาด้วยตนเอง
3. Software-as-a-service เป็นธุรกิจให้บริการซอฟท์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกในวิถีชีวิตสมัยใหม่
4. Enterprise software เป็นธุรกิจให้บริการระบบซอฟท์แวร์สำหรับการบริหารองค์กรขนาดใหญ่แบบครบวงจร
.
ดยทั้ง 39 บริษัทที่ผม List รายชื่อมาข้างต้น เข้าข่ายตามกฎเกณฑ์และมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามข้อกำหนดทุกประการ… เพราะ Unicorn เป็นสัตว์หายาก และ Unicorn เป็นสิ่งวิเศษ ไม่สามารถพบเจอได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน
.
เห็นรึยังว่า THE AGE OF UNICORNS เป็นชื่อเรียกยุคสมัยที่ 39 ขององค์กรดาวรุ่งผู้ประกอบธุรกิจทางด้าน ICT ที่กำลังผงาดง้ำค้ำโลกอย่างไม่เกรงใจใครนั่นเองครับ