ล่าม AEC

By : Pattarakorn Vorathanuch
ล่าม เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะความสามารถเฉพาะตัวแล้ว รายได้ของอาชีพนี้ก็ถือว่าอยู่ในกฎเกณฑ์ที่น่าพอใจไม่น้อยทีเดียว
จากภาวะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจการเมืองยุคนี้ ส่งผลให้เกิดความจำเป็นในการพัฒนาของระบบการสื่อสารที่เชื่อมโยงข้อมูลโลกได้อย่างไร้พรมแดน และการเชื่อมโยงดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศที่กำลังก้าวสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน อย่างประเทศไทยเป็นต้น
ข้อดีของการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน คือ ช่วยต่อยอดทางการค้าและธุรกิจ ทำให้ไม่เสียโอกาส และขณะเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นโอกาสใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อม มีทักษะ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและการแข่งขันในอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน
การเปิดโลกของการค้าแบบเสรีนั้น จะช่วยสร้างแรงดึงดูด และกระตุ้นธุรกิจ การแข่งขัน ในภาครัฐและเอกชนให้ขยายมากยิ่งขึ้น ทั้งการลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากอาเซียนมีแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ รวมทั้งค่าแรงถูกกว่าในภูมิภาคอื่น แต่โอกาสทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ อาจจะไม่สามารถสานต่อได้เลย ถ้าผู้ประกอบการทางธุรกิจถูกจำกัดด้วยอุปสรรคทางภาษา
ภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ดังนั้น ความรู้ภาษาอังกฤษและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษจำเป็นมากในฐานะภาษาสากล นอกเหนือจากนั้นยังควรที่จะศึกษาภาษาอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษาจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะภาษาจีน ประเทศสมาชิกอาเซียนเช่น สิงคโปร์ หรือแม้แต่มาเลเซียในบางพื้นที่ ได้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางในการติดต่อสื่อสาร
ล่าม AEC ต้องทำงานอะไรบ้าง ??
คำถามของคนที่อยากทำอาชีพนี้ แต่ยังสับสนอยู่ไม่น้อย เนื่องจากมีคนอีกส่วนหนึ่ง ชอบนำคำว่า ล่าม ไปรวมกับอาชีพนักแปลบทความ ที่กล่าวมานั้นอาจจะไม่ผิดเสียทั้งหมด เพราะอาชีพหลักของล่ามอาจแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
ล่ามประจำบริษัท
- หน้าที่หลักคือ ช่วยแปลภาษา เวลามีการประชุม บรรยาย สัมมนา หรือเวลาไปติดต่อธุรกิจกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างประเทศ
ล่ามประจำตัว
- กรณีนี้ บางบริษัทอาจใช้ลักษณะการว่าจ้างงานเป็นครั้งคราว คล้ายกับผู้ช่วยพิเศษ โดยส่งไปทำงานควบคู่กับนัก ธุรกิจ เพื่อเจรจาต่อรองในแต่ประเทศ
ล่ามผู้เชี่ยวชาญในชั้นศาล
- เฉพาะงานที่ต้องการสื่อสารเกี่ยวข้องกับคดีความระหว่างประเทศ โดยต้องมีทักษะเชี่ยวชาญเรื่องกฎหมาย และต้องสอบผ่านด้านการแปลเอกสารของกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย
ทักษะอื่นๆ ที่ควรมี สำหรับล่าม AEC
- ความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ นอกเหนือจากข้อมูลพื้นฐาน เช่น เมืองหลวง ภาษา หรือเชื้อชาติแล้ว ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึกด้านสังคมและวัฒนธรรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อควรและไม่ควรปฏิบัติในแต่ละประเทศ เช่น หลักปฏิบัติและข้อห้ามของศาสนาอิสลาม เนื่องจากประชากรเกือบครึ่งในภูมิภาคอาเซียนนับถือศาสนาอิสลาม
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในกรณีที่เป็นล่ามติดตาม หรือเป็นล่ามที่ต้องทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียน ควรศึกษาข้อกำหนดในการทำงานในประเทศนั้นๆ เช่น การขอวีซ่า การเสียภาษี เป็นต้น
- ข้อมูล ข่าวสาร ของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงข่าวสารรอบโลก ทักษะด้านภาษาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับบุคคลที่ต้องการเป็นล่าม ควรติดตามข้อมูลต่างๆ รอบด้านอย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยเนื้อหาที่ต้องแปลอาจเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ หรือ การแพทย์ ที่มักมีคำศัพท์ทางเทคนิคหรือคำศัพท์เฉพาะทาง
- กฎระเบียบและขั้นตอนการนำเข้าแรงงานของประเทศในกลุ่มอาเซียน
http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads/pdf/11._bththii_7_kdraebiiyb.pdf