SHARING ECONOMY แบ่งปันฉันและเธอ

By : Pattarakorn Vorathanuch


เมื่อเรากำลังอยู่ในโลกของการแชร์ …

ตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่มมีอินเทอร์เนตใช้ ตลอดไปจนถึงมีโลกของโซเชียลออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น การแชร์ดูเสมือนว่ากำลังเริ่มกลายเป็นเทรนด์ใหม่ และเริ่มมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในยุคนี้เป็นอย่างมาก เราแชร์รูปภาพ แชร์เรื่องราว แบ่งปันองค์ความรู้ต่าง ๆ และประสบการณ์ทั้งไลฟสไตล์และเรื่องของการทำงานต่าง ๆ มากมาย แต่มันคงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าหากว่า
การแชร์ของเรานั้น สามารถสร้างมูลค่า และสามารถสร้างรายได้เพิ่ม

ในต่างประเทศ เรื่องราวของการแชร์ มีอะไรที่มีมากเกินกว่าที่เราจะคาดคิด ตัวอย่างเช่น Crowdfunding หรือ
ที่เรารู้จักกัน ในเรื่องราวของการระดมเงินทุนเพื่อนำไปพัฒนาโปรเจคต่าง ๆนั้น แต่สำหรับเรื่องราวของการแชร์ เราก็มี Crowdsourcig  ทีเป็นเหมือนภาคต่อของ Crowdfunding  เพียงแต่แตกต่างกันตรงที่ Crowdsourcig เป็นการแบ่งปันหรือเป็นหาแนวร่วม ที่จะร่วมแชร์ทรัพยากรให้แก่กันและกัน ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดเมืองใหม่ ๆ ขี้น สวนกระแสกับท่ามกลางของคนยุคปัจจุบัน ที่นับวันยิ่งเห็นแก่ตัว และใช้ทรัพยากรเพื่อเอื้อผลประโยชน์ตนเองมากขึ้นด้วย

นอกจากนั้นมีการแชร์อีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลงน่าสนใจ  นั่นคือการแชร์ในรูปแบบ Ubernightzation ที่ตอบไลฟ์สไตล์ของความเป็นเมือง ซึ่งเป็นนำสิ่งของต่าง ๆ ที่ผู้คนมีอยู่แต่ไม่ได้ใช้ นำมาแชร์แบ่งปัน หรือนำมาแชร์ต่อและเกิดเป็นธุรกิจ เป็นโอกาสใหม่ที่เราเรียกเทรนด์นี้กันว่า SHARING ECONOMY นั่นเอง

แชร์ของที่เรามี ที่เราไม่ได้ใช้ แต่สร้างรายได้…

อย่างที่บอกเกริ่นกันว่า ในต่างประเทศนั้น การแชร์ลักษณะนี้ มีค่อนข้างเยอะ และมีหลากหลายรูปแบบ อย่างในบทความก่อน ๆ ที่เราเคยพูดถึงการแชร์ห้องแชร์บ้านของเรา เพื่อให้ผู้อื่นได้อาศัยและสร้างรายได้ในรูปแบบธุรกิจที่เรียกว่า Airbnb กันไปแล้วนั้น และไม่ใช่เพียงแค่ห้องเช่าเท่านั้น เพราะเรายังสามารถแชร์สิ่งของอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา หรือแม้แต่ จักรยาน รถยนต์ส่วนตัว เรือยอช์จ อาหาร ประสบการ์ณ และงานบริการอื่น รวมกระทั่งความสามารถต่าง ๆ ของคุณ ก็สามารถนำมาแชร์ได้อีกด้วย ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า โลกในยุคปัจจุบัน ที่มีการใช้อินเทอร์เนต และดิจิตอลออนไลน์นั้น สามารถทำทุกอย่างให้เกิดขึ้นได้..

จากข้อมูลเรื่องของ SHARING ECONOMY นั้น คนส่วนใหญ่มักคิดว่า น่าจะมีเฉพาะแค่ในประเทศแถบตะวันตกเท่านั้น ที่จะสามารถทำในเรื่องลักษณะนี้ได้ แต่ปัจจุบัน จากการสำรวจผ่านอินเทอร์เนตทั่วโลกกว่า 30,000คน ทำให้เราได้พบข้อมูลใหม่ว่า ประเทศในเอเชีย กลับกลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตในเรื่องของเทรนด์ SHARING ECONOMY มากกว่า โดยเฉพาะประเทศอย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และในประเทศไทย

นอกจากนี้งานวิจัยของในต่างประเทศ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วยว่า การที่มนุษย์ได้รับ หรือได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ นั้น ทำให้มนุษย์มีความสุข มากยิ่งกว่าการแค่ซื้อสินค้า หรือการบริการเพียงอย่างเดียว

ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ธุรกิจใหม่ๆ ที่มาจากเทรนด์ของ SHARING ECONOMY น่าจะตอบโจทย์คนยุคใหม่ๆ ได้ดีกว่า เพราะไม่ได้เป็นเพียงแค่การให้บริการ หรือแค่การเช่า ซื้อขาย ชั่วคราวและจบ ปิดการขายเพียงเท่านั้น แต่ SHARING ECONOMY เป็นมากกว่า ตรงที่มีเรื่องราวของการแชร์ ประสบการณ์ร่วม กับผู้ที่มาใช้บริการนี้ เปรียบเสมือนการได้พบมิตรภาพใหม่ หรือครอบครัวใหม่

โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยนี้ ธุรกิจเทรนด์นี้ ยังถือว่าใหม่มาก แต่ก็น่าจะสามารถเติบโต และพัฒนาได้ขึ้นได้อีกมากมายเช่นกัน เพราะว่าประเทศไทยที่ ถือว่าเป็นประเทศที่มีความเพียบพร้อมในเกือบทุกๆด้าน ทั้งในเรื่องเรื่องรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการส่งเสริมอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญา และวิถีชาวบ้านในแบบท้องถิ่น รวมทั้งอุปนิสัย ลักษณะ และท่าที การบริการที่เป็นมิตรของคนไทย ที่เข้าถึงง่ายกว่าคนในหลาย ๆ ประเทศ จึงคาดว่าอนาคตข้างหน้านี้ เทรนด์ในเรื่องของ SHARING ECONOMY ประเทศไทยน่าจะมีรูปแบบการบริการอื่น ๆ หรือที่แปลกใหม่ ไม่แพ้ชาติอื่นใดๆ ในโลกนี้…

https://www.youtube.com/watch?v=t1m0Yru2r5o

 

Reviews

Comment as: