KPI หลบไป OKRs มาแว้ว (ตอนแรก)

By : Jakkrit Siririn
OKRs ย่อมาจาก Objective and Key Results หมายถึง เครื่องมือใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ด้วยการกำหนดเป้าหมาย และผลลัพธ์ขององค์กร OKRs มีขึ้นเพื่อบอกว่าได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แล้วหรือยัง
OKRs ทำหน้าที่ตัวกลางที่จะประสานระหว่าง
1. ผู้บริหาร
2. หัวหน้างาน และ
3. ผู้ปฏิบัติงาน
โดยทั้ง 3 ระดับ จะต้องกำหนด Objective ของแต่ละระดับที่สนับสนุนกันและกัน และต้องมีความเชื่อมโยงถึงกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ต้องมีการกำหนดตัววัดผล หรือ Key Results ซึ่งจะสามารถเกื้อหนุน Objectives ในแต่ละระดับ
Objectives หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องการทำให้สำเร็จ
Key Results หมายถึง วิธีการที่องค์กรจะทำให้สำเร็จ
Objective: เป้าหมายเชิงกลยุทธ์: คุณสมบัติของการตั้ง Objective ที่ดี
Objective นั้นคือเป้าหมายเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative ที่ต้องมีการตั้งให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ หรือ Vision และภารกิจ หรือ Mission ขององค์กร
Objective ที่ดี ต้องมีเป้าหมายระดับทะเยอทะยานสูง ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันให้องค์กร
ไม่ควรตั้ง Objective ที่ยากหรือง่ายจนเกินไป และควรทำให้ Objective บรรลุพันธกิจได้ไม่ต่ำกว่า 60-70%
Key Result: ตัวชี้วัดผลลัพธ์: คุณสมบัติของการตั้ง Key Result ที่ดี
Key Result นั้นคือเป้าหมายเชิงปริมาณ หรือ Quantitative ที่ต้องตั้งให้เป็นรูปธรรม หมายถึง ต้องนับ และวัดผลได้
ควรตั้ง Key Result ให้ได้ ไม่เกิน 5 ข้อต่อ Objective 1 ข้อ
ทุกๆ Key Results ต้องมีผู้รับผิดชอบ โดยแต่ละคนต้องดำเนินการจัดทำรายละเอียดในสิ่งที่ตนรับผิดชอบ หรือ To do list
ตัวอย่างของการตั้ง OKRs
1. Objective คือ การทำให้องค์กรขึ้นเป็นอันดับหนึ่งใน ASEAN
2. Key Results ควรจะเป็นสิ่งที่สามารถวัดเป็นรูปธรรมได้ อาทิ สร้างรายได้ให้เดือนละ 1 ล้าน
3. Objective คือการขายสินค้าหรือบริการที่ดีเลิศ โดยต้องการให้สื่อหลายแห่งช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือ Review ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าและบริการดังกล่าว
อาจต้องตั้ง Key Results ดังนี้
3.1 Review สินค้าหรือบริการจำนวน 10 เว็บไซต์ โดยต้องมี Review เชิงบวกประมาณ 80% ของ Review ทั้งหมด
3.2 กระตุ้นให้ลูกค้าจำนวน 40% กลับมาใช้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าและบริการดังกล่าวซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้งภายใน 1 สัปดาห์
3.3 ทำให้สินค้าหรือบริการได้รับการ Recommend โดยได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 8 จาก 10 ให้ได้
ส่วน KPI ย่อมาจาก Key Performance Indicator หมายถึง ค่าดัชนีที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยจะแสดงให้เห็นรายละเอียดในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ
ขั้นตอนการสร้างตัวชี้วัด
1. กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ
2. กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จ โดยต้องมีสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ
3. กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ
4. กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว
5. กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว ได้แก่
6.1 ชื่อของดัชนีชี้วัด
6.2 คำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด
6.3 สูตรในการคำนวณ
6.4 หน่วยของดัชนีชี้วัด
6.5 ผู้เก็บข้อมูล
6.6 ความถี่ในการรายงานผล