KPI หลบไป OKRs มาแว้ว (ตอนจบ)

By : Jakkrit Siririn


S.M.A.R.T. คือเกณฑ์หนึ่งภายใต้กระบวนทัศน์ KPI ได้แก่

1. Specific หรือ ความเฉพาะเจาะจง

2. Measurable หรือ ความมีมาตรฐานการวัด

3. Attainable หรือ Achievable หรือ ความสามารถที่จะบรรลุผลสำเร็จได้

4. Realistic หรือ ความสมจริง / ความเหมาะสมกับบริบท / สภาพจริง และ

5. Timely หรือ ความสามารถในการวัดผลภายในเวลาที่กำหนด

MBOs ย่อมาจาก Management by Objectives หมายถึง การบริหารโดยวัตถุประสงค์ เป็นวิธีการบริหารโดยการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ Joint Objective Setting Between Superior and Subordinates

MBOs ถูกนำมาใช้สำหรับการบริการกันอย่างแพร่หลาย ผู้พัฒนาแนวคิดการบริหารโดยวัตถุประสงค์ คือศาสตราจารย์ Peter Drucker

MBOs เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารในองค์กร มี 4 ขั้นตอนกล่าวคือ

1.การกำหนดวัตถุประสงค์

2.การวางแผนงาน 

3. มาตรฐานที่ใช้วัดผลงาน  และ

4. การประเมินผล

การวัดผล (Measurement) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. วัดทางตรง วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale

2. วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมอง เช่น วัดความรู้ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale

การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ

2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดความถนัดทางการเรียน วัดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain) เช่น วัดความสนใจ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดจริยธรรม ฯลฯ

2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain) เช่น การเคลื่อนไหว การปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือ ฯลฯ

การประเมินผล (Evaluation) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่ม และการประเมินแบบอิงเกณฑ์

1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ

2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่

          เครื่องมือวัดและประเมินผล

1. การสังเกต (Observation)

2. การสัมภาษณ์ (Interview)

3. แบบสอบถาม (Questionnaire)

3.1 แบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Form)

3.2 แบบสอบถามปลายปิด (Closed – ended Form)

3.2.1 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist)

3.2.2 มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

3.2.3 แบบจัดอันดับ (Rank Order)

3.2.4 แบบเติมคำสั้น ๆ ในช่องว่าง

3. การจัดอันดับ (Rank Order)

4. การประเมินผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment)

5. การวัดผลภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)

6. การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolios)

คุณสมบัติตัวชี้วัดที่ดี

1. มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับองค์กร

1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดกับเป้าประสงค์ขององค์กร โดยจะต้องสะท้อนเป้าประสงค์ขององค์กร

1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดกับบุคลากรในองค์กร โดยบุคลากรจะต้องสามารถทำงานได้ถูกต้องกับผลที่ต้องการ

2. มีความชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ

3. มีความสอดคล้องกันระหว่างองค์กร

4. สามารถตรวจสอบได้

5. ไม่สร้างภาระกับองค์กร

6. สามารถควบคุมได้

7. ไม่กระทบต่อพฤติกรรมของบุคลากร

8. ก่อให้เกิดการพัฒนาภายในองค์กร และ

9. ใช้ระยะเวลาที่เหมาะสม

เอกสารและสิ่งอ้างอิง

1. KPI: Key Performance Indicator. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. www.ftpi.or.th

2. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ถนนสู่ความสำเร็จ: การกำหนดตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ. สำนักวิจัยและพัฒนา. บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด. www.tris.co.th

 

Reviews

Comment as: