โรงเรียนล่องหน (ตอนแรก)
By : Jakkrit Siririn
School-Based Management การจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
Problem-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Activity-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
Task-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้เนื้องานเป็นฐาน
Work-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน
Project-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน
Team-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ทีมงานเป็นฐาน
Story-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้เรื่องราวเป็นฐาน
Games-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน
Model-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบเป็นฐาน
Computer-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน
Simulation-Based Learningการเรียนรู้โดยใช้การจำลองเป็นฐาน
Research-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
Creativity-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน
Community-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Evidence-based Learning การเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐาน
Brain-Based Learningการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
Zombie-Based Learning การเรียนรู้โดยใช้ซอมบี้เป็นฐาน
ทั้งหมดนี้ คือแนวคิดในการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่
และในวันนี้ มีอีกหนึ่งแนวคิดใหม่ในการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ นั่นคือ Cloud-Based Learning หรือการเรียนรู้โดยใช้ก้อนเมฆเป็นฐาน
รากศัพท์ Cloud แปลว่าก้อนเมฆหรือกลุ่มเมฆ ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำเสนอรูปแบบใหม่ในการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ หรือ Cloud Computing
Cloud Computing เป็นลักษณะของการประมวลผลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะทำการจัดสรร-แบ่งปันทรัพยากรต่างๆ ให้กับผู้ต้องการประมวลผลเป็นคราวๆ เป็นครั้งๆ ไป
Cloud Computing คือพัฒนาการที่ต่อยอดจากแนวคิด Virtualization และ Web Service โดยผู้ใช้บริการงานประมวลผลนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น (Danielsom, 2008)
การหยิบศัพท์ Cloud แปลว่าก้อนเมฆหรือกลุ่มเมฆมาใช้ในการอุปมาอุปมัยลักษณะการประมวลผลแบบใหม่นี้ มีความเหมาะเจาะลงตัวเป็นอย่างมาก
เนื่องด้วยผู้ใช้บริการประมวลผลผ่านระบบ Cloud ไม่ทราบจริงๆ ว่าชุดข้อมูลหรือโปรแกรมที่ส่งไปประมวลผลผ่านเครื่อง ServerComputer นั้น ถูกนำไป Run ที่ Cloud หรือก้อนเมฆก้อนไหน
อันที่จริง นิยามที่ถูกต้องของคำว่า Cloud Computing นั้น หมายถึง การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากเข้าด้วยกัน โดยเครื่องทั้งหมดในกลุ่ม Cloud ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน เพราะคอมพิวเตอร์ทุก Node บน Cloud ได้มีการเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง
ที่สำคัญก็คือ บรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมี Hardware และ Operating System Software หรือระบบปฏิบัติการ แบบเดียวกันทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น กลุ่ม Cloud หนึ่งๆ อาจมีทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในรูปแบบ IBM PC Compatible หรือ เครื่อง Apple McIntosh หรือ Platform อื่นๆ ปะปนกันอยู่
มองในอีกแง่หนึ่ง ระบบปฏิบัติการ หรือ OS: Operating System ของ Platform ทั้งหมดนั้นมีอยู่หลายชนิด เป้าหมายของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเช่นนี้ มีขึ้นเพื่อดึงพลังในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดให้สอดประสานกันเพื่อนำไปใช้จัดการงานประมวลผลใหญ่ๆ
ซึ่งแต่เดิมอาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ระดับ Hi-end ที่ต้องอาศัยต้นทุนมหาศาลในการติดตั้งและบำรุงรักษา แต่กับ Cloud Computing แล้ว จะช่วยลดต้นทุนดังกล่าวลงไปได้มาก
เทคโนโลยี Cloud Computing จึงเป็นนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากทุกวงการ ทั่วทุกมุมโลก
ในตอนหน้า จะไปดูกันว่า โรงเรียนล่องหนคืออะไร?
และจะประยุกต์ใช้ Cloud Computing เพื่อนำมาบริหารจัดการระบบการจัดการการเรียนรู้บนก้อนเมฆ หรือ Cloud-based Learning Management System ซึ่งเป็นระบบที่มีการโต้ตอบและขยายตัวเป็นอย่างมากได้สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ได้อย่างไร?
โดยเฉพาะหากนำมาใช้กับการบริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดเป็น โรงเรียนล่องหน
เพราะในปัจจุบัน ระบบจัดการการเรียนรู้บนก้อนเมฆ ได้มีส่วนช่วยในการจัดเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
ดังตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยีการประมวลผลบนก้อนเมฆเข้ากับกระบวนการบริหารจัดการการศึกษา อาทิ การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีก้อนเมฆ โดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Yoosomboon, 2014)
ระบบห้องเรียนเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยีการประมวลผลบนก้อนเมฆ เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียน (Kankaew, 2014)
รวมถึงการพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบร่วมไม้ร่วมมือกัน โดยใช้การเรียนรู้เชิงกรณีศึกษาผ่านเทคโนโลยีก้อนเมฆ ร่วมกับ Social Network เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยเฉพาะการบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ผ่านระบบ ICT (Nookhong, 2014)